วันที่ 21 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันอัลไซเมอร์โลก” โดยตั้งตามชื่อผู้ค้บพบโรคอัลไซเมอร์ คือ จิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer)
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?
คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ที่พบได้ร้อยละ 65 ของโรคสมองเสื่อมทั้งหมด เป็นความผิดปกติของสมองที่เกิดขึ้นช้าๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่เชื่อว่ามีสาเหตุทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม และสาเหตุอีกอย่างหนึ่ง คือ เซลล์สมองมีการสร้างสารส่งผ่านประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำลดลง ทำให้ความสามารถของสมองลดลง โดยเฉพาะความจำ ความเฉลียวฉลาด การใช้ภาษา การคิดคำนวณ และสูญเสียทักษะบางอย่างที่มีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของตัวเอง อาการเหล่านี้มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปีขึ้นไป โรคนี้จะมีการดำเนินโรคไปอย่างช้าๆ โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาประมาณ 8-15 ปี โดยสาเหตุของการเสียชีวิตมักจะเกิดจากโรคแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในทางเดินหายใจ การติดเชื้อในกระแสเลือด อุบัติเหตุ หลงทางไม่สามารถกลับบ้านได้
อะไรที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์?
อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น โดยพบว่าร้อยละ 10 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ และร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีอายุเกิน 85 ปีขึ้นไป
เพศ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ประวัติครอบครัว ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ร้อยละ 10 มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์
กลุ่มอาการดาวน์ ( Down syndrome ) ผู้ป่วยโรคนี้จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุ 30-40 ปี
สารพิษจากสิ่งแวดล้อม มีนักวิจัยบางคนสรุปว่า การได้รับสารอะลูมิเนียมมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
มีประวัติการเจ็บป่วย ได้แก่ ประวัติอุบัติเหตุทางสมอง, ประวัติภาวะซึมเศร้าประวัติไขมัน คอลเรสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
รู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์?
รู้ได้ โดยลองเช็คว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?
ลืมบ่อยๆ เช่น ลืมว่าจอดรถไว้ที่ไหน จำทางไม่ได้ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ ชอบถามซ้ำๆ พูดจาวกวน นึกสิ่งที่จะพูดไม่ออก สับสนเรื่องเวลา สถานที่ จำคนที่เคยรู้จักไม่ได้ หงุดหงิด หวาดระแวง หรืออาจดูซึมเศร้าหรือเฉยเมย โดยจะมีอาการเหล่านี้มากขึ้นจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ถ้าสงสัยว่าคนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปพบแพทย์ระบบประสาทหรือจิตแพทย์ที่มี
ความเชี่ยวชาญด้านโรคอัลไซเมอร์โดยด่วน เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ป้องกันได้ไหม?
ป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงจากมลพิษ ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามินอี และซีสูง เช่น มะเขือเทศ แครอท คะน้า ผักโขม ทานนม ปลา ข้าวไม่ขัดสี และถั่วต่างๆ งดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ไม่เครียด สามารถจัดการกับความเครียดได้ และรู้จักผ่อนคลาย เช่น การฝึกการหายใจ การทำสมาธิ มีการบริหารสมองเป็นประจำ เช่น นับเลขย้อนกลับ เปลี่ยนเส้นทางใหม่ ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดมากขึ้น และหมั่นฝึกสมาธิ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นที่สมองส่วนหน้า ทำให้การเรียนรู้ และความจำดีขึ้น
ถ้าเป็นแล้ว…จะรักษาอย่างไร?
รักษาแบบประคับประคอง คือ รักษาโรคทางกายและปัญหาทางจิตที่เกิดร่วมด้วย ป้องกันโรคแทรก
ดูแลบำบัดด้านจิตใจและปัญหาพฤติกรรม ฟื้นฟูสุขภาพกายและจิต ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เน้นคุณภาพชีวิต ผู้ดูแลมีส่วนร่วม
รักษาแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายได้ มีเพียงการใช้ยาเพื่อเพิ่มระดับสารสื่อประสาทในสมองที่ช่วยเพิ่มความจำให้ดีขึ้นและลดปัญหาด้านพฤติกรรมที่เกิดจากโรคนี้
อยู่กับคนป่วยโรคนี้ ต้องทำอย่างไร?
สิ่งสำคัญที่สุด คือ การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและตัวผู้ป่วย การให้ความรัก ไม่ถือโทษหรือข่มขู่ ให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยผู้ดูแลต้องเข้าใจและสามารถรับมือกับอาการและอารมณ์ผิดปกติของผู้ป่วยได้ รวมทั้งร่วมมือกับแพทย์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น การดูแลเรื่องอาหารการกินแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีผลไม้ ผัก ปลาให้มาก ลดอาหารจำพวกโปรตีนและนม ดูแลเรื่องการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน มีการจัดสถานที่ให้อากาศถ่ายเทสะดวก จัดสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น การสำลักอาหาร การเกิดอุบัติเหตุจากน้ำร้อน การติดเชื้อ ปอดบวม การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
การแพทย์ทางเลือกมีวิธีชะลอโรคนี้ด้วยการฝังเข็ม, เลเซอร์ใยแก้ว, การให้อาหารเสริมพวกบำรุงสมองแบะระบบความจำ การกำจัดโลหะหนัก การล้างท่อเลือด การใช้คลื่นควันตั้ม ไปจนถึงการใข้แสงเลเศอรและLED ช่วงความถี่35-50 Hz. ร่วมกับการใช้Biopeptideของสมอง ไปจนถึงสเต็มเซล
“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”
สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่
ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com
#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips