fbpx

เปรียบเทียบการสูบบุหรี่กับสารกัมมันตภาพรังสี (radioactivity)

กันยายน 30, 2019
การสูบบุหรี่

กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) หมายถึง อนุภาคที่ที่ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียสที่ไม่เสถียร อนุภาคนี้มีพลังงานสูงมาก มากพอที่จะไปกระแทกอิเล็กตรอนของสสารอื่นให้หลุดออกจากอะตอม อนุภาคนี้สามารถถูกนับด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Geiger counter มีหน่วยเป็น sievert

ดร. Derek เดินทางไปรอบโลกเพื่อจะตรวจสอบดูว่าสถานที่ต่างๆที่เล่าลือกันว่ามีกัมตภาพรังสีสูงนั้นมันสูงแค่ไหน โดยเปรียบเทียบกับ กล้วย
กล้วย!! ใช่เลยกล้วยนั่นแหละ กล้วยมีโพแทสเซียมสูงซึ่งโพแทสเซียมในกล้วยเป็นสารกัมมันตภาพรังสีโดยธรรมชาติ … โอ้ว … แต่ไม่ต้องกลัวไป มันไม่ได้มีปริมาณมากขนาดที่จะเป็นอันตรายกับคนหรอกค่ะ เพราะกล้วย 1 ลูก โดยเฉลี่ยมีกัมมันตภาพรังสีประมาณ 0.1 ไมโครซีเวอร์ น้อยมากๆลองมาเทียบดูกับปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่อยู่ในธรรมชาติ
ในธรรมชาติปกติทั่วๆไปเราจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 0.1-0.2 ไมโครซีเวอร์ต่อชม. …..

สถานที่แรกที่แรกที่ดร.เดริคไปคือ …ฮิโรชิม่า… สถานที่ที่ถูกบอมด้วยระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก และเค้าวัดได้ 0.3 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.

สถานที่ต่อไปคือเหมืองแร่ยูเรเนียมเก่าในสาธารณรัฐเชค ที่ที่มารี คูรีค้นพบและทำแร่ไปศึกษา … ที่นี่วัดได้ 1.7 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.

อีกที่คือห้องทำงานของมารี คูรีในปารีส …. วัดได้ประมาณ 1.3 ไมโครซีเวอร์ต่อชม. ที่ลูกบิดประตูห้อง

แล้ว ดร.เดริคก็บินไป New Mexico (…คือบินรอบโลกเพื่อทำคลิป…) สถานที่ที่ได้ใช้ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ … ที่นี่วัดได้ 0.8 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.

….สถานที่ต่อไป….ทายซิ ว่าที่ไหน…. มันคือบนเครื่องบินค่ะ เมื่อเราอยู่ที่สูงมากๆ ชั้นบรรยากาศก็เบาบางลง ทำให้เราได้รับ cosmic rayที่มาจากอวกาศมากขึ้น ที่ความสูง 30,000 feet เราจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 2 ไมโครซีเวอร์ต่อชม. น่าประหลาดใจนะคะ

ต่อมา…สถานที่ชื่อดังอีกที่ เชอร์โนบิล สถานที่เกิดเหตุสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปี 1986 … ที่นี่วัดได้ 5 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.

ที่ต่อมา..สดๆร้อนๆเลย กับ โรงไฟฟ้าในฟุกุชิมา ที่นี่อ่านได้ 10 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.

มาอีกที่ แวะกลับไปแถวเชอร์โนบิล….แต่ไม่ได้ไปที่โรงไฟฟ้า แต่ไปที่โรงพยาบาลที่นักดับเพลิงพาผู้ประสบเหตุจากเหตุการณ์เชอร์โนบิลมารักษา ที่ชั้นใต้ดินเป็นที่ทิ้งชุดของนักดับเพลิงที่เพิ่งมารู้ตัวที่หลังว่าโดนสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อน … ที่นี่วัดได้ 500 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.

แต่รู้หรือไม่เวลาเราไปทำ CT scan เราจะได้รับรังสี 7000 ไมโครซีเวอร์ ซึ่งเทียบแล้วก็เท่ากับ รังสีที่เราได้รับจากธรรมชาติเป็นเวลา 3 ปี
คนที่อยู่แถวฟุกุชิม่า ก็จะไ้ด้รับรังสีทั้งชีวิตรวมกันได้เพิ่มขึ้น 10,000 ไมโครซีเวอร์
แต่ช้าก่อน … พนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีในอเมกาถูกจำกัดให้รับรังสีตลอดชีวิตได้ไม่เกิน 50,000 ไมโครซีเวอร์ต่อปี เพราะงั้นคนในฟุกุชิม่ายังปลอดภัยกว่าคนที่ทำงานเกี่ยวกับรังสีโดยตรงเยอะ
แต่ โน ..อาชีพนี้ยังไม่ใช่อาชีพที่รับรังสีมากที่สุด อาชีพที่รับรังสีมากสุดคือ …….. นักบินอวกาศ……นักบินอวกาศจะรับรังสี 80,000 ไมโครซีเวอร์ภายในเวลาแค่6เดือน

แต่ถ้าคิดว่าเราอยู่บนโลกแล้วปลอดภัยกว่านักบินอวกาศนั้น…..คิดผิดถนัด……เพราะมีคนกลุ่มนึงที่โดนรังสีมากพอๆกับนักบินอวกาคือ…………………..
ผู้สูบบุหรี่ …..โดยเฉลี่ยจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 160,000 ไมโครซีเวอร์ทุกปี (เดาว่าคำนวณจากบุหรี่6มวนต่อวัน…)

คนสูบบุหรี่ไม่ใช่แค่รับสารพิษเท่านั้น แต่ยังได้กัมมันตภาพรังสีเป็นของแถมไปด้วย …..

ปัจจุบันเราที่สถาบันผิวหนังและศาสตร์การแพทย์ขะลอวัยแบบองค์รวมดร.อรวรรณ สามารถทำการตรวจรังสีสะท้อนที่ตกค้างในร่างกายเราได้ด้วยเทคโนโลยีคลื่นควันตั้มพร้อมกับมีแนวทางการบำบัดเพื่อขจัดรังสีที่สะสมมากเกินไปออกจากร่างกายได้ด้วยศาสตร์โฮมีโอพาธีจากประเทศเยอรมันคะ
แต่วิธีที่รักษาได้ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือรับควันบุหรี่รวมทั้งหลีกเลี่ยงการไปสถานที่มีกัมมันตรังสีด้วยคะ

“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”

สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่

ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com

#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 31, 2023
หัวไชเท้า ทานอาหารเป็นยา
หัวไชเท้า ❤️ เมื...
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 31, 2023
HIIT ( high intensity interval training )
HIIT ( high intensity interval...
Posted by Dr. Orawan | ธันวาคม 20, 2022
ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดคือช่วงที่ความมั่นใจในตัวเองพุ่งถึงขีดสูงสุด
ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดคือช่ว...