ชายไทยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น โดยมีอุบัติการณ์อยู่ที่ 2.5-3 รายต่อแสนประชากร จากเดิมเป็นมะเร็งชายไทยอันดัน 7-8 ปัจจุบันสูงเป็นอันดับ 4 ของโรคมะเร็งทั่วไปในชายไทย
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของมะเร็งที่คร่าชีวิตของผู้ชาย รองจากมะเร็งปอด พบว่าผู้ชาย 1 คน ในทุก 10 คน จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า มะเร็งต่อมลูกหมากมักไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทั่ว ๆ ไป
ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งต่อมลูกหมาก
- กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีพ่อหรือพี่ชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นสูงกว่าคนทั่วไป 3 เท่า
- อายุที่เพิ่มขึ้น อายุที่เสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าวัยอื่นๆ คืออายุมากกว่า 50 ปี
- น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อ้วนลงพุง
พฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่เน้นไขมันสูง เนื้อแดง มากเกินไป และรับประทานผักผลไม้น้อย
สัญญาณอันตราย “มะเร็งต่อมลูกหมาก”
ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่หมด กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ปวดเวลาปัสสาวะหรือมีเลือดปนออกมา รวมทั้ง ไม่มีแรง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดหลัง ปวดกระดูก น้ำหนักลด หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัย
ตรวจพบก่อน รักษาให้หายได้ก่อน
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งตั้งแต่เริ่มแรกมีผลให้อัตราการเสียชีวิตลดลง 21% และสามารถลดมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามขณะวินิจฉัยได้
วิธีรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ระยะที่ 1-2 มะเร็งยังไม่แพร่กระจายสามารถรัษาให้หายขาดได้ ด้วยการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด การฝังแร่รังสี
ระยะที่ 3-4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น กระดูก ตับ ไต ปอดและต่อมน้ำเหลือง อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ บางรายถึงขั้นเป็นอัมพาต ทำการรักษาได้เพียงลดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมียาบางชนิดช่วยฉีดประคับประคอง
วิธีลดความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดอาหารมัน ควบคุมคอเลสเตอรอล
กินอาหารไทยที่อุดมด้วยพืช ผัก ผลไม้ที่มีไลโคปีน เช่น แตงโม มะเขือเทศสุก ผักตระกูลกะหล่ำ ผลิตภัณฑ์จากเต้าหู้และถั่วเหลือง ซึ่งจะสามารถช่วยยับยั้งโอกาสป่วยด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอราว 6-8 ชั่วโมงต่อคืน
วิธีการตรวจคัดกรองหรือตรวจหาว่ามีความผิดปกติของการเกิดมะเร็ง เป็นวิธีที่ดีในการระมัดระวังตัวเอง ให้ห่างไกลจากมะเร็ง
(Prostate-specific antigen; PSA) ซึ่ง พีเอสเอ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก พีเอสเอ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของต่อมอสุจิที่ทำให้มีลักษณะเป็นน้ำ ส่วนใหญ่ พีเอสเอ มักจะออกจากร่างกายระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ แต่มีปริมาณน้อยที่จะสามารถเข้าสู่กระแสเลือด
ค่าปกติ ของ PSA
ค่าปกติของ PSA อยู่ในช่วง 4 ถึง 10 ng/mL ในช่วงอายุที่แตกต่างกันอาจมีระดับของ PSA ที่ไม่เท่ากันได้ แต่จะไม่สูงเกิน10 ng/mLกรณีที่มีการตัดต่อมลูกหมากไปแล้วเพื่อรักษามะเร็งจะมีระดับPSA เป็น 0 ได้ แต่ยังต้องมีการตรวจระดับ PSA เพื่อติดตามอาการต่อไป หากพบว่ามีระดับสูง อาจเกิดเนื่องจากการพบการกระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งไม่สามารถกำจัดออกได้หมดระดับ PSA ที่ตรวจพบบ่งชี้ถึงโอกาสในการเกิดมะเร็งที่แตกต่างกันได้
การวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมากPSA เป็นค่าบ่งชี้เบื้องต้นซึ่งในคนผู้ชายปกติจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่0-4%
กรณีมีการอักเสบหรือต่อมลูกหมากโตจะมีค่าสูงขึ้นมากกว่า4-10%และกรณีที่มีค่าสูงกว่า10% มักมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ทั้งนี้การตรวจพบค่าPSAที่ผิดปกติควรรีบปรึกษาเเพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ละเอียดถูกต้องต่อไป รวมถึงการรักษาแต่เนิ่นๆจะป่องกันการเกิดเป็นมะเร็งหรือระยะลุกลามได ที่กล่าวเช่นนี้เป็นเพราะว่า ส่วนมากแล้วมะเร็งทุกชนิด มักไม่แสดงอาการในระยะแรกเริ่มให้เห็น แต่จะมารู้ตัวว่าเป็น ก็แสดงอาการในระยะที่ 2 ที่ 3 เข้าไปแล้ว ดังนั้น จึงควรรับการตรวจคัดกรองเป็นระยะเพื่อป้องกันและไม่ประมาท
“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”
สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่
ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com
#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips