ใครที่ติดตามเรื่องโควิด-19 ช่วงนี้จะเริ่มได้ยินคำว่า Long Covid ที่เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่คนไทยควรสนใจ
คนป่วยไม่มีเชื้อไวรัสในตัวแล้วแต่ร่างกายไม่ยอมกลับมาเป็นปกติ
ปกติ “โควิด-19” ที่เรารู้จัก คือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่ทำให้มนุษย์ป่วย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงหนัก
ปกติคนติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะหายขาดภายใน 12 สัปดาห์
แต่ปรากฏว่าทุกวันนี้มีผู้ป่วยบางกลุ่มที่เกิดภาวะที่เรียกว่า Long Covid
ความหมายคือ แม้ว่าร่างกายจะปลอดเชื้อโควิดแล้ว แต่อาการเจ็บป่วยเหล่านั้นยังคงอยู่ติดตัวอีกยาว
นั่นคือ ยังมีอาการอ่อนเพลียและความเครียดหรือมีความกลัวกับสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
บีบีซีอ้างข้อมูลของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (National Health Service: NHS) รายงานว่า Long Covid เป็นอาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์ มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 35-49 ปี และอายุระหว่าง 50-69 ปี
ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ร้อยละ 20 ผู้ป่วยจะเข้าข่ายนี้ หลังจากรับเชื้อไปแล้ว 5 สัปดาห์
อาการแบบไหนที่เข้าเกณฑ์ Long Covid?
อาการจะเป็นการผสมผสานของปัญหาต่างๆ เช่น
– เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
– หายใจหอบเหนื่อย
– เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
– มีปัญหาเรื่องความจำ และการจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
– นอนไม่ค่อยหลับ
– ใจสั่น
– เวียนหัว มึนงง
– รู้สึกเหมือนมีของแหลมที่บริเวณผิวหนัง
– หูอื้อ ปวดหู
– คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ความอยากอาหารลดลง
– มีไข้ ไอ เจ็บคอ การรับรสและได้กลิ่นเปลี่ยนไป
– ปวดหัว
ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ “เรื้อรัง” เหล่านี้ แต่สันนิษฐานว่าการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคนบางคนทำงานหนักเกินไปและอาจจะเป็นเพราะเชื้อโจมตีเนื้อเยื่อของตัวเองด้วยหรืออาจจะเป็นเพราะบางชิ้นส่วนของไวรัสที่ค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจกลับมาทำงานอีกครั้งในวารสารการแพทย์แลนเซตลงบทความจากประเทศจีนว่าประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้โควิดที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผ่านไป 12 เดือนยังมีปัญหาอย่างน้อยหนึ่งอาการส่วนใหญ่มีอาการอ่อนเพลียหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ในบางรายนั้นแม้จะผ่านไปหนึ่งปี หลังการวินิจฉัยผู้ป่วยแล้ว 1 ใน 3 ยังหายใจหอบยิ่งผู้ป่วยอาการหนักตัวเลขก็ยิ่งสูงขึ้น สัดส่วนของคนไข้ที่มีอย่างน้อยหนึ่งอาการลดลงจาก 68% หลัง 6 เดือน มาอยู่ที่ 49% หลัง 12 เดือน อาการหายใจลำบากเพิ่มขึ้นจาก 26% ของผู้ป่วยเมื่อผ่านไป 6 เดือน เป็น 30% เมื่อผ่านไป 12 เดือน รายงานนี้ตรงกับของอังกฤษที่ว่าผู้หญิงมีปัญหาอ่อนเพลียและกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่หายมากกว่าผู้ชาย 43% อีกทั้งมีแนวโน้มเกิดความเครียดและซึมเศร้ามากกว่าสองเท่า แต่ผู้ป่วย 88% ที่เคยทำงานก่อนป่วยกลับไปทำงานได้ในหนึ่งปีต่อมา รายงานชิ้นนี้ของจีนบอกว่า ได้ทำการวิจัยหัวข้อนี้กับประชาชนเกือบ 1,300 คนในเมืองอู่ฮั่นทางภาคกลางของจีน ที่เข้าโรงพยาบาลเพราะโควิดระหว่างเดือน ม.ค.-พ.ค.63 เป็นการวิจัยเพิ่มเติมจากงานวิจัยชิ้นก่อนหน้า ที่เตือนให้นานาประเทศต้องเตรียมการสนับสนุนระยะยาวแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
“ในระยะยาวโควิดอาจส่งผลกระทบต่อการกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ หรือความสามารถในการทำงานของผู้ป่วย ผลการศึกษาชี้ว่า ผู้ป่วยหลายคนกว่าจะหายดีจากโควิด-19 ต้องใช้เวลานานกว่า 1 ปี”
Long Covid จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับวงการแพทย์และผู้รู้ทุกวงการ ที่จะต้องหาคำตอบให้คำถามมากมายที่พรั่งพรูกันมา ในขณะที่สงครามกับไวรัสตัวนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงได้ง่ายๆ
ที่สถาบันสุขภาพองค์รวมดร.อรวรรณได้มีโปรแกรมช่วยฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย Long COVID อย่างได้ผลโดยการผสมผสานการรักษาแบบองค์รวมตั้งแต่การฝึกบริหารปอดด้วยซี่กงโยคะ อาหารบบัด ฝึกสมาธิ ดนตรีบำบัด สันทนาการ ไปจนการให้วิตามินเสริม ร่วมกับการให้สเต็มเซลบำบัด ทำให้ผู้ที่มารับการบำบัดมีสุขภาพฟื้นคืนมาอย่างเห็นผลขัดเจน
————————————————————————————————————
สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่
ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com
#drorawan #sukhumvit #docter #covid #holistic #โควิด #สุขภาพ #ความงาม #tips #อาหาร