fbpx

ไขมันในเลือด: 7 หลักสำคัญง่าย ๆในการควบคุมไขมันในเลือด

กันยายน 30, 2019
ไขมัน

วารสารการแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด มีรายงานเรื่องคลอเลสเตอรอลในเลือดนั้นมีสาเหตุมาจากอาหารเพียง 20% เท่านั้น ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
แม้มีการคุมอาหารแล้ว แต่เจาะเลือดยังพบไขมันสูงเพราะอวัยวะที่ผลิตไขมัน “คลอเลสเตอรอล” เป็นหลักถึง 80% คือ “ตับ” และทางเดินอาหาร ดังนั้นการดูแลตับและคุมการบริโภค “น้ำตาล” กับ “โปรตีน” ให้ดี จึงมีส่วนช่วยควบคุมไขมันในเลือดได้มาก

7 หลักสำคัญง่าย ๆในการควบคุมไขมันในเลือดคือ

1) ใช้วิธี “กินมันลดไขมัน” ได้โดยการเลือกรับประทานไขมันดีที่มีมากในปลาทู,ทูน่า,แซลม่อน, น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ , คาโนล่า , น้ำมันมะพร้าว , อะโวคาโด, นำ้มันถั่วลิสง( อ่านเพจเรื่องการเลือกรับประทานที่หมอเคยเขียนไว้คะ) ในปริมาณที่เหมาะสมเพราะจะช่วยสมอง การสร้างฮอร์โมนและลดการอักเสบต่างๆในร่างกายได้มาก

2) ให้ระวังไขมันทรานส์ อย่าลืมว่าไขมันที่ร้ายไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวเสมอไปแต่เป็นไขมันในรูป “ทรานส์” ที่ทำให้เพิ่มคลอเลสเตอรอลแอลดีแอลในร่างกายแต่ไปกดไขมันดีอย่างเอชดีแอลให้ต่ำลง ซึ่งไขมันทรานส์มีมากในเนยเทียม , คุกกี้ , แครกเกอร์ , วิปครีม , มันฝรั่งทอด , โดนัท และเบเกอรี่ อีกหลายชนิด

3) อย่าอดนอนหรือนอนมากไป มีการศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร Sleep ว่าสุภาพสตรีที่นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืนและที่นอนมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อคืนนั้น พบว่ามีระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และไขมันดีตกต่ำ นอกจากนั้นนักวิจัยยังพบว่าการ “กรน” ยังสัมพันธ์กับระดับของไขมันดีที่ต่ำลงด้วย ควรงดกินมื้อดึกด้วยคะ

4) เลี่ยงน้ำตาล โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่ฉลากบอกว่ามี ฟรุกโตส,ซูโครสหรือ HFCS(High-Fructose Corn Syrup) เพราะทำให้เกิด “ไขมันแทรกตับ(Non-alcoholic fatty liver disease)” หรือไขมันพอกตับ ซึ่งด้านโภชนาการแนะว่าถ้าลดการเพิ่มน้ำตาลลงได้เพียง 5% ของพลังงานทั้งหมดต่อวันก็จะช่วยลดความชุกของไขมันแทรกตับได้

5) เลี่ยงอัลกอฮอล์ เพราะจะช่วยคุมคลอเลสเตอรอลได้ เพราะอัลกอฮอล์ที่บริโภคเข้าไปทำให้ได้แคลอรี่เพิ่มซึ่งเปลี่ยนเป็นไขมันที่พุงและอวัยวะต่างๆรวมทั้งเส้นเลือด และทำให้ค่าคลอเลสเตอรอล แอลดีแอลสูงขึ้นได้ และไขมันดีเอชดีแอบต่ำลง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจกับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์พอกตับได้

6) สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา(American Heart Association,AHA)ได้แนะนำไว้ว่าผู้ใหญ่ทุกคนที่มีวัยตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจคัดกรองภาวะไขมันสูงอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงไขมันสูงควรต้องได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอโดยเฉพาะชายอายุตั้งแต่ 45 ปี หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่มีประวัติไขมันสูงในครอบครัว

7) หมั่นออกกำลังกายทุกวันหรือเดินให้ได้มากกว่า10,000ก้าวต่อวัน อย่านั่งๆนอน ให้ขยับลุกเดินยืนนั่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรคต่างๆโดยเฉพาะ เบาหวาน ความดัน และโรคหลอดเลือดและหัวใจ

บทความอื่น:

ไขมันชนิดดี ไขมันชนิดเลว ในเลือด ตรวจอย่างไร?

13 สุดยอดอาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

 

“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”

สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่

ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com

#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

7 habits of emotionally intelligent person
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
นิสัย 7 ประการของผู้ฉลาดทางอารมณ์
กล่าวโดยสรุป ผู้ที่มีความฉลาดท...
what is probiotic
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
Probiotics คืออะไร? สุขภาพดี…เริ่มต้นที่ลำไส้
การที่จะทำให้ลำไส้ของเราแข็งแร...
โรคเบาหวาน ความดัน
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กัน
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กั...