fbpx

Diarrhea คืออะไร? ท้องร่วงสำคัญอย่างไร

สิงหาคม 27, 2019
diahrrea

ท้องร่วง (diarrhea) หมายถึง อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ครั้ง หรือถ่ายเหลวและมีเลือดปน 1ครั้ง โดยจะมีอาการแน่นท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และถ่ายบ่อย

อาการของโรคท้องร่วง

  1. อาการท้องร่วง ชนิดเฉียบพลัน
    พบในคนส่วนใหญ่ เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และหายได้ภายใน 3 สัปดาห์ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ อาหารเป็นพิษ กินอาหารที่มีไขมันสูง มีรสจัด อาหารที่มีกากหรือเมล็ดมาก ๆ หรือเป็นผลข้างเคียงมาจาก การกินยาบางชนิด ท้องร่วงเฉียบพลันที่เป็นในผู้ใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย แต่ในเด็กมักเกิดจากเชื้อไวรัส
  2. อาการท้องร่วงชนิดเรื้อรัง
    มีอาการนานกว่า 3 สัปดาห์ หรือเป็นต่อเนื่องเป็นเวลานาน จน นำ้หนักลดชัดเจนซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และเข้ารับรักษาที่ถูกต้อง เข่นมะเร็งหรือการติดเชื้อภูมิคุ้มกันปกพร่อง

ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องร่วง

สำหรับคนที่เป็นโรคท้องร่วงส่วนใหญ่มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา แต่คนบางกลุ่มอย่างหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้ได้มากกว่าคนปกติปกติ

  • ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
    ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ ทำให้กระหายน้ำและปัสสาวะมีสีเข้ม หากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจะทำให้เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ไปจนถึงไตวายเฉียบพลัยหรือช็อค
  • โรคลำไส้แปรปรวน
    โรคลำไส้แปรปรวนจะมีอาการไม่สบายท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้องมาก ปวดท้องมากหลังรับประทานอาหาร และอาการจะดีขึ้นหลังการขับถ่าย ท้องผูก ท้องเสีย ท้องผูกสลับกับท้องเสีย อุจจาระแข็งหรือนิ่มกว่าปกติ อุจจาระไม่สุด อุจจาระมีเมือกใสหรือสีขาวปนออกมา อั้นอุจจาระไม่อยู่ หรืออาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หมดแรง ปวดหลัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรืออาจรู้สึกเจ็บที่อวัยวะเพศขณะมีเพศสัมพันธ์สำหรับเพศหญิง
  • ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
    เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโทสได้หมด โดยมักพบน้ำตาลชนิดนี้ในนมสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งแล็กโทสที่เหลือจากการย่อยจะทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดอาการแน่นเฟ้อจุกเสียดหรือถ่ายเหลวได้
  • กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
  • ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
  • การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย

ควรรับมืออย่างไรกับท้องร่วง

ดื่มน้ำมาก ๆ หรือผสมเกลือแร่
การถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ เนื่องมาจากอาการท้องร่วงนั้น อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการท้องร่วงควรดื่มน้ำมาก ๆ หรือดื่มเกลือแร่หรือโออาร์เอส (ORS) เพื่อชดเชยของเหลวและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป

การงดอาหารระหว่างท้องร่วง
เป็นอีกวิธีในการรักษา ถ้าร่างกายแข็งแรงดี ก็จะไม่มีผลเสียใด ๆ เพราะการงดอาหาร จะช่วยให้ลำไส้ได้พักผ่อน และการทำงานกลับเป็นปกติดียิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารเข้าไปมาก อาหารเหล่านั้นกลับถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย หรือไม่ดูดซึมเลย ทำให้ยิ่งกินมาก ก็ยิ่งทำให้เสียน้ำ และเกลือแร่ออกจากร่างกายมากไปด้วย

ไม่แนะนำการรับประทานยาหยุดถ่าย
การรับประทานยาหยุดถ่ายอาจทำให้สารพิษยังเหลือค้างในร่างกายแทนการที่จะถูกขับออกมา ซึ่งจะทำให้มีอาการแย่ลงกว่าเดิม
สำหรับท่านที่เป็นมานานควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง ปัจจุบันเน้นการปรับสมดุลย์ทางเดินอาหารด้วยสารสกัดจากเอนไซม์ และการให้แบคทีเรียขั้นดีเพื่อสร้างสมดุลย์ซ่อมแขมผนังเยื่อบุ สร้างภูมิต้านทานและยังช่วยสร้างวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งนี้ควรปรึกษาให้แพทย์ช่วยดูแลคะ

“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”

สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่

ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com

#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

7 habits of emotionally intelligent person
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
นิสัย 7 ประการของผู้ฉลาดทางอารมณ์
กล่าวโดยสรุป ผู้ที่มีความฉลาดท...
what is probiotic
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
Probiotics คืออะไร? สุขภาพดี…เริ่มต้นที่ลำไส้
การที่จะทำให้ลำไส้ของเราแข็งแร...
โรคเบาหวาน ความดัน
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กัน
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กั...