fbpx

การอบรมเรื่อง โรค COVID-19 และมาตรการป้องกันของคลีนิคและตนเอง

กุมภาพันธ์ 28, 2020
covid 19

ชื่อโรค COVID-19 (Corona Virus Disease 2019)

ชื่อเชื้อโรค nCoV (Novel Corona Virus)

ความเป็นมา

  • 31 ธันวาคม 2562 จีนรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบเป็นครั้งแรก
  • 3 มกราคม 2563 ไทยเริ่มคัดกรองผู้โดยสารทางเครื่องบิน (กระทรวงสาธารณสุขเริ่มดำเนินการเต็มตัว)
  • 8 มกราคม 2563 ไทยพบผู้ป่วยรายแรก (มาจากจีน)
  • 15 มกราคม 2563 ไทยพบผู้ป่วยที่เป็นคนไทยรายแรก (กลับจากจีน)
  • 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัยโลกประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ”
  • 27กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ป่วยทั่วโลก 82,456คน (จีน 78,497 คน ไทยอยู่ลำดับ 10 = 40 คน)
    ผู้เสียชีวิต 2,811คน (จีน 2,744 คน ไทย 0 คน)

– เป็นไวรัสในตระกูล Corona (ซึ่งเรารู้จักอยู่แล้ว 6 ชนิด ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ 4 ชนิด , SARS และ MERS)
– ไม่เคยปรากฎว่าไวรัสนี้ก่อโรคในคนมาก่อน
– ขนาดเล็กกว่าฝุ่น PM2.5 = 20 เท่า (ขนาด 120 นาโนเมตร)
– อยู่โดยลำพังและแห้งไม่ได้นาน

โรค COVID-19

– เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างคือเป็นปอดอักเสบ
– การแพร่เชื้อกว้างขวางปานกลาง (R0 = 2.5 คือผู้ป่วย 1 คน แพร่ได้ 2.5 คน โรคที่แพร่มากเช่น โรคหัดมี R0=9 แปลว่าผู้ป่วย 1 คน แพร่ได้ 9 คน)
– อัตราการเสียชีวิตต่ำ ประมาณ 2-3% ของผู้ป่วย (SARS เสียชีวิต 10% MERS เสียชีวิต 30%)
– ระยะฟักตัว 5.2 วัน (1-12.5 วัน)
– การแพร่เชื้อส่วนใหญ่แพร่โดยยังไม่มีอาการ ตั้งแต่ระยะฟักตัว
– การแพร่เชื้อผ่านของเหลวของผู้ป่วย น้ำมูก เสมหะ (Droplet Borne) ซึ่งจะออกไปรอบตัวผู้ป่วยได้ประมาณ 1-2 เมตร
– ส่วนการแพร่เชื้อผ่านทางอากาศ (Air Borne) ยังไม่มีการยืนยัน ยกเว้นการแพร่เชื้อผ่านละอองขนาดเล็กในการพ่นยาในผู้ป่วยที่เข้าห้องแยกหรือห้องไอซียูเท่านั้น

คำแนะนำการปฏิบัติตัว

เนื่องจากเป็นไวรัสเพิ่งปรากฎว่าก่อโรคในมนุษย์ จึงทำให้
• ยังไม่มียารักษา ขณะนี้มีความพยายามใช้ยาเก่าที่มีอยู่แล้วที่เคยใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน
เช่น SARS , MERS มาลองใช้ในผู้ป่วยโรค COVID-19 แต่ยังไม่สามารถสรุปผลได้
• ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ขณะนี้มีความพยายามของทุกฝ่ายในการผลิตวัคซีน แต่คงต้องรออีก 12-18 เดือน เพิ่งมีรายงานว่าจีนค้นพบวัคซีนป้องกันได้สำเร็จแล้วรอการยืนยันผล

ดังนั้นประชาชนทุกคนจึงควร

1. ศึกษาหาความรู้ให้เกิดความตระหนัก (ระมัดระวัง) แต่ไม่ตระหนก (กลัวเกินจริง)
2.ไม่เผยแพร่หรือแชร์ข้อมูลความรู้ที่ไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้
3. ปฏิบัติตัวตามข้อมูล / ข้อเท็จจริงทางวิชาการดังนี้

(1)อยู่ห่างจากผู้ป่วยหรือผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อ 1-2 เมตร (เชื้อผ่านมาทาง Droplet น้ำมูก เสมหะที่ไอจามได้ 1-2 เมตร)
(2)ถ้าไม่แน่ใจให้ใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ได้ (แม้เชื้อไวรัสจะเล็กกว่า PM 2.5 แต่ไวรัสไม่ได้อยู่ได้โดยลำพัง แต่เกาะอยู่บนละอองที่ใหญ่กว่า PM 2.5 ทำให้หน้ากากอนามัยธรรมดาป้องกันเชื้อไวรัสได้)
(3)ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้แอลกอฮอล์เจล
(4)ไม่ใช้มือในการสัมผัสเยื่อบุบอบบางของร่างกาย เพราะไวรัสจะผ่านเยื่อบุได้ (แต่ผิวหนังธรรมดาไวรัสผ่านไม่ได้) เยื่อบุ ได้แก่ เยื่อบุตา เยื่อบุจมูก เยื่อบุในปากและลำคอ จึงห้าม ล้วง แคะ แกะ เกา และอมนิ้ว
(5)หลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19
(6)หลีกเลี่ยงการเดินทางไปสถานที่แออัดมาก ถ้าจำเป็นให้ใส่หน้ากากอนามัย
(7)หลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ใกล้ชิดรวมทั้งการทานอาหารร่วมกับผู้ที่เสี่ยง เช่น เดินทางกลับมาจากประเทศที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ
(8)กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ และไม่ล้วง แคะ แกะ เกา เป็นมาตรการพื้นฐานที่ได้ผลดี
(9)ร่วมกันสร้างวินัยในสังคม ให้ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจทุกชนิดรวมทั้งหวัดธรรมดามีความรับผิดชอบใส่หน้ากากอนามัยเสมอ
(10) รับประทานอาหารร้อนสุก ซื้อจากภายนอกให้อุ่นใหม่ ส่วนผักผลไม้ให้ล้างนำ้เกลือเพื่อฆ่าเชื้อที่อาจติดมา
(11) สระผม อาบนำ้ ส่งผ้าซักทุกครั้งที่ไปที่ชุมชน

ประเทศไทย

1.มีระบบสุขภาพที่ค่อนข้างมีคุณภาพ
2.มีระบบการควบคุมการระบาดของโรคดีมาก (อันดับ 6 จาก 195 ประเทศ)
3.มีบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานทุ่มเทเสียสละเป็นอย่างมาก (ปิดทองหลังพระ)
ประชาชนไทยทุกคนควรจะช่วยกันโดยให้ความร่วมมือทำตามคำแนะนำ ให้กำลังใจคนทำงาน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เราผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

แนวโน้มของโรค COVID-19

ด้วยหลักวิชาการประเทศต่างๆ จะทยอยมีผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระยะ 1-3 ตามลำดับ ความสามารถในการควบคุมโรคประกอบกับความร่วมมือ ความมีวินัยของประชาชนในแต่ละประเทศจะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อไม่เกิดเพิ่มขึ้นรวดเร็วพร้อมกันเป็นจำนวนมากจนระบบสาธารณสุขรองรับไม่ทัน หากแต่จะมีการติดเชื้อในจำนวนที่ระบบสาธารณสุขให้การดูแลได้อย่างมีคุณภาพ เมื่อมีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งแล้ว (มีภูมิต้านทานตามธรรมชาติ) มีวัคซีนใช้ป้องกันโรคได้ (มีภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน) จะทำให้ โรค COVID-19 กลายเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ที่เราคุ้นเคยกันในที่สุด

♥️Dr.Orawan เรียบเรียงปรับปรุงข้อมูล

Cr: นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”

สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่

ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com

#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

7 habits of emotionally intelligent person
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
นิสัย 7 ประการของผู้ฉลาดทางอารมณ์
กล่าวโดยสรุป ผู้ที่มีความฉลาดท...
what is probiotic
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
Probiotics คืออะไร? สุขภาพดี…เริ่มต้นที่ลำไส้
การที่จะทำให้ลำไส้ของเราแข็งแร...
โรคเบาหวาน ความดัน
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กัน
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กั...