fbpx

ท้องผูกประจำแก้ได้? ประภทของท้องผุก มีอะไรบ้าง? มาดูกันค่ะ

กันยายน 9, 2019
ท้องผูก

หากคุณเป็นหนึ่งในหลายๆคนที่ต้องเผชิญกับความทรมานของระบบขับถ่าย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งต้องใช้เวลานาน ทิ้งไว้หลายวันยิ่งอึดอัด ไม่สบายตัว อย่าหลงคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติหากปล่อยให้ท้องผูกเป็นเวลานาน การปล่อยให้ท้องผูกเป็นเวลานานจนเรื้อรังส่งผลเสียหลายอย่างต่อร่างกายเช่น สารพิษตกค้าง การเป็นแผล การเกิดริดสีดวง ความเจ็บปวดขณะขับถ่าย รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

ท้องผูกเป็นแบบไหน

​คงเคยได้ยินว่าท้องผูกคือการขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ในความเป็นจริงแล้วอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งของการขับถ่าย
​ท้องผูก (Constipation) คือ การที่ไม่มีการขับถ่ายหรือมีความถี่ในการขับถ่ายลดลงกว่าปกติ การมีอุจจาระที่แข็งและยากต่อการขับถ่าย รวมไปถึงการมีอาการใดอาการหนึ่ง ดังนี้
• การมีอุจจาระแข็ง
• ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ
• ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย
• มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
• หลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมดหรือถ่ายอุจจาระไม่สุด

ประภทของท้องผุก

1.ท้องผูกที่มีความผิดปกติของการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Primary Constipation)
• ท้องผูกชนิดที่มีการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ปกติ หรือลำไส้แปรปรวน ซึ่งจะพบได้ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของท้องผูกในกลุ่มนี้ และพบว่า มีการรับรู้ความรู้สึกไวของลำไส้ตรง
• ท้องผูกชนิดที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่าย ซึ่งประมาณ 1/3 ของของกลุ่มนนี้เกิดจากการที่กล้ามช่องท้องที่ใช้ช่วยในการเบ่งมีแรงไม่เพียงพอ การที่กล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่สัมพันธ์กับการเบ่งถ่ายอุจจาระ โดยมีการเกร็งตัวหรือไม่คลายตัวดีพอขณะทำการเบ่งถ่าย
• ท้องผูกชนิดที่ลำไส้มีภาวะเคลื่อนไหวตัวช้ากว่าปกติ ซึ่งกลุ่มนี้พบได้น้อยที่สุด

2.ท้องผูกที่มีปัจจัยส่งเสริมนอกเหนือจากการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Secondary Constipation)
• เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินอาหาร ซึ่งอาจเป็นเพราะก้อนเนื้อหรือมะเร็งมากด รวมไปถึงการตีบแคบของลำไส้จากพังผืดหรือการผ่าตัด
• ภาวะการตั้งครรภ์
• เกิดจากโรคทางระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
• เกิดจากความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ภาวะ โพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมสูง
• เกิดจากการรับประทานยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีมอร์ฟีน ยารักษาความดันโลหิตบางกลุ่ม ยารักษาอาการทางจิตเวช ยารักษามะเร็งบางชนิด ยาแก้ท้องเสีย รวมไปถึงยาลดการเกร็งของทางเดินอาหาร ยาลดกรดหรือยาเคลือบกระเพาะ รวมไปถึงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
• เกิดจากโรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง พาร์กินสัน เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ผู้ป่วยนอนติดเตียง
เมื่อผูกได้ก็ต้องแก้ได้นะคะโดย

1. ปรับพฤติกรรม เป็นสิ่งแรกที่เราควรเริ่มทำ

• ทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ลูกพรุน กล้วย มะขาม ข้าวโพด แอปเปิล ฝรั่ง มะละกอ เป็นต้น เพื่อจะช่วยเพิ่มเส้นใยการขับถ่าย โดยอาหารที่มีกากมากจะต้านทานการย่อยของน้ำย่อยที่จะไปดูดน้ำภายในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายอุจจาระได้รวดเร็ว แนะนำให้ทานใยอาหาร 20-30 กรัมต่อวัน
• ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว และทำงานได้ดีขึ้น เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น ก็จะไปส่งผลให้ลำไส้ขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและทำให้อาหารส่งผ่านไปได้สะดวก หากไม่มีเวลามาก แนะนำให้เดินออกกำลังกายสัก 20-30 นาทีก็พอจะช่วยให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวแล้ว
• ฝึกเข้าห้องน้ำขับถ่ายทุกเช้าให้ตรงเวลาเป็นกิจวัตร โดยควรนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที ไม่ควรเร่งรีบเกินไป
• ดื่มน้ำให้มาก ๆ เราคงเคยได้ยินคนแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องอื่น ๆ แล้ว การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ยังช่วยไม่ให้ท้องผูกด้วย เพราะน้ำจะไปช่วยให้กากอาหารอ่อนตัวลงได้ โดยเฉพาะการดื่มนำ้อุ่นๆตอนตื่นนอนจะช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
• งดดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีสารที่ไปกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ส่งผลให้อาการท้องผูกตามมา ทั้งยังทำให้ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้อีกด้วย
• ลดความเครียดให้น้อยลง

2. การรักษาโดยการใช้ยาระบาย เมื่อการปรับพฤติกรรมในข้างต้นยังไม่ช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น การรับประทานยาจะช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระทำได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้การใช้ยาระบายควรขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หมอแนะนำสารเพิ่มกากใย มากกว่ายากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เพราะจะทำให้เคยขินจนต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยไป และแนะนำเป็นผบไม้ที่ข่วยการระบายเข่นมะละกอ ส้ม กล้วย มะขาม ตะดีที่สุดคะได้ทั้งวิตามินเกลือแร่และกากใย

3. การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือที่เรียกว่า ไบโอฟีดแบ็ก (Biofeedback Training) เป็นการฝึกควบคุมการทำงานและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน อาจฝึกเองเเบบธรรมชาติหรือโดยนักกายภาพบำบัดจะมีการสอดอุปกรณ์เข้าไปทางทวารหนัก จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะบอกให้ผู้ป่วยลองขมิบหรือคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งเครื่องมือที่ถูกสอดเข้าไปจะบันทึกและประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ

4. การผ่าตัด มักใช้ในกรณีที่การรักษาอื่น ๆ ในข้างต้นไม่ได้
ผลดีและอาการท้องผูกรุนแรง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการลำไส้เกิดการอุดตัน ตีบแคบ หรือหย่อนออกมา โดยแพทย์อาจจะมีการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ในบางช่วงออก

ผูกได้ก็แก้ได้นะคะ รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการขับถ่ายทุกวันนะคะก่อนที่จะเกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ต่างๆรวมไปถึงมะเร็งลำไส้นะคะ

“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”

สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่

ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com

#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

7 habits of emotionally intelligent person
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
นิสัย 7 ประการของผู้ฉลาดทางอารมณ์
กล่าวโดยสรุป ผู้ที่มีความฉลาดท...
what is probiotic
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
Probiotics คืออะไร? สุขภาพดี…เริ่มต้นที่ลำไส้
การที่จะทำให้ลำไส้ของเราแข็งแร...
โรคเบาหวาน ความดัน
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กัน
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กั...