ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เป็นอีกหนึ่งโรคที่เป็นภัยเงียบที่ค่อยๆทำร้ายร่างกายเราโดยไม่รู้ตัว
ส่วนใหญ่ก็จะเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตค่ะ เช่น ชอบอาหารที่เป็นพวกแป้งและน้ำตาลสูงๆ รวมถึงแอลกอฮอล์ นอนดึกและ ไม่ได้ออกกำลังกาย เป็นต้น
โรคนี้เป็นกันมากถึง 25% ของประชากรโลก ยังเพิ่มความเสี่ยงของ
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- โรคอ้วน (Obesity)
- โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
- โรคหัวใจ (Heart Disease)
- ภาวะดื้ออินซูลิน (Insuline Resistance)
การที่เราไม่ดื่มเหล้าไม่สูบบุหรี่ก็ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะไขมันพอกตับ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารการกิน
โรคไขมันพอกตับนี้ มักพบมากในคนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป พอเป็นแล้วหลายคนก็พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดแป้งและน้ำตาล ออกกำลังกายวันละ 30 นาที และพยายามพักผ่อนให้เพียงพอ
แต่อาการและผลการตรวจก็ไม่ดีขึ้นเลย แพทย์หลายท่านมักกล่าวว่าโรคไขมันพอกตับเป็นแล้วเป็นเลยไม่มีทางหาย นอกจากจะปรับพฤติกรรมเพื่อจะช่วยไม่ให้เป็นมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นการรักษาแบบหายหาด
ในขณะที่ถ้าเราปล่อยไว้ โดยไม่ทำการรักษาและแก้ไข ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากๆ ซึ่งนอกจากจะมีภาวะไขมันพอกตับไปสู่ภาวะตับอักเสบและตับแข็งแล้ว ความรุนแรงอาจจะรวมไปจนถึงมะเร็งตับในที่สุด ข่าวดีคือโรคไขมันพอกตับรักษาได้คะ
ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) คืออะไร?
โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) คือ โรคที่เกิดขึ้นจากการที่เซลล์ตับมีไขมันสะสมอยู่มากเกินไป โดยปกติการที่เซลล์ตับมีไขมันนิดหน่อยถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าปริมาณไขมันในตับเกิน 5% เมื่อไหร่ ก็จะถือว่าเป็นโรคไขมันพอกตับค่ะ
เราอาจจะเคยได้ยินว่า การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดหลายโรคเกี่ยวกับตับ โดยเฉพาะโรคไขมันพอกตับ
แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่เแอลกอฮอล์เท่านั้น ที่เราต้องระวัง เพราะอาหารขยะที่มีแคลอรี่สูงๆจากแป้งและนำ้ตาล เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตับทำงานหนักขึ้น
ตับซึ่งเป็นอวัยวะหลักในการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล และเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินเป็นไขมันเก็บสะสมในส่วนต่างๆในร่างกาย ขณะเดียวกันก็ทำให้ตัวเซลล์ตับเองเปลี่ยนสภาพเป็นไขมัน สะสมภายในเซลล์ตับส่วนนอกนิวเคลียส (Nucleaus) หรือไซโตพลาสซึ่ม (Cytoplasm) นั่นเอง
เมื่อสะสมมากเข้าตับจะเริ่มอักเสบ พอนานเข้าก็จะเกิดเยื่อผังผืดมาแทนที่ กลายเป็นโรตตับแข็ง และนานเข้าก็กลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
เห็นหรือยังค่ะว่าสาเหตุหลัก ล้วนมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารแป้งและนำ้ตาลนี่เองคะ
ในคนอ้วนและคนที่มีน้ำหนักเกินทุกคน จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนผอม แต่คนผอมที่รับประทานแป้งและนำ้ตาลมากก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เข่นกัน แม้จะมีโอกาสน้อยกว่าก็ตามค่ะ
ตับ (Liver) มีหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไร?
ตับมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เป็นเสมือนโรงงานที่เปลี่ยนแปลงสารอาหารที่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร เข้าไปสู่ตับผ่านทางเส้นเลือด โดยเซลล์ตับจะปรับเปลี่ยนแป้งเป็น กลูโคส (Glucose) เพื่อให้พลังงานแก่เชลล์ต่างๆในร่างกาย
ตับเป็นแหล่งเกิด เมตาโบลิซั่ม (Metabolism) ต่างๆเผาผลาญให้เกิดพลังงาน รวมทั้งเก็บพลังงานที่เหลือใช้เป็นไขมันสะสม และยังเป็นที่เปลี่ยนสารต่างๆ ลดความเป็นพิษ หรือทำให้สารและยาต่างๆผ่านขบวนการปรับเปลี่ยนให้ทำงานได้มากขึ้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และสังเคราะห์โปรตีน เป็นต้น
หากเซลล์ตับผิดปกติขึ้น ก็จะมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันทันที เช่น เราจะเหนื่อย เพลีย และไม่มีแรงเกือบตลอดเวลา รู้สึกไม่สบายท้อง น้ำหนักอาจจะลดลงผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีอาการมึนงง และไม่มีสมาธิ ไปจนมีอาการตาเหลืองตัวเหลือง ซีด เป็นต้นค่ะ
โรคไขมันพอกตับ สาเหตุหลักคืออะไร?
โรคไขมันพอกตับอาจจะเกิดด้วย 6 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ค่ะ
1. มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเกินไป
ยิ่งเรามีน้ำหนักหรืออ้วนมากขึ้นเท่าไหร่ เซลล์ตับก็ยิ่งจะมีไขมันสะสมมากขึ้นเท่านั้น ถ้าดูสถิติเราก็จะเห็นเลยว่า กว่า 30-90% ของโรคไขมันพอกตับในผู้ใหญ่ เกิดขึ้นกับคนที่น้ำหนักเกินทั้งนั้นค่ะ
และที่น่าห่วง คือ ปัจจุบันทั้งเด็กและผู้ใหญ่อ้วนขึ้นกันมากจากอาหารขยะ ขนม และแอลกอฮอล์ เราต้องคอยหมั่นควบคุมอาหารและให้ความรู้ เพราะโรคไขมันพอกตับกำลังมีตัวเลขที่สูงขึ้นเรื่อยๆคะ
2. มีไขมันที่พุงเยอะเกินไป
คนผอมก็เสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับได้เหมือนกันค่ะ เพราะไขมันที่เป็นตัวการ คือ ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) ซึ่งเราไม่สามารถหยิบหรือมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเจ้าไขมันชนิดนี้แหละค่ะ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดโรคไขมันพอกตับ
3. มีภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)
ภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้นเมื่อ ร่างกายเราหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อนำสารอาหาร (น้ำตาลกลูโคส) ไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกาย แต่ด้วยเหตุที่เรามีไขมันเยอะเกินไป เซลล์ในร่างกายเราไม่สามารถรับสารอาหารได้เต็มที่ ทำให้อินซูลินยังวนเวียนอยู่ในกระแสเลือด ไม่สามารถไปไหนได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในค่ะ
ภาวะดื้ออินซูลินนอกจากจะทำให้เราเป็นโรคไขมันพอกตับแล้ว ความเสี่ยงเกิดโรคอื่นๆก็จะตามมาด้วย เช่น โรคเบาหวาน ไขมันไตรกรีเซอไรด์สูง เป็นต้น
4. รับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวเยอะเกินไป
โดยปกติในคนทั่วไป การรับประทานอาหารที่มีคาร์บเชิงเดี่ยวสูงๆ เช่น โดนัท ข้าวขาว พิซซ่า เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นแป้งทั้งหลาย และขนมปังขาว ก็ทำให้อ้วนและน้ำหนักขึ้นง่ายอยู่แล้ว
แต่ถ้าในคนที่อ้วนหรือมีภาวะดื้อออร์โมนอินซูลินอยู่ อัตราการสะสมไขมันยิ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว พอมากขึ้นเรื่อยๆตับก็ทำงานหนักและจะมีไขมันมาสะสมที่ตับมากเกินไปนั่นเองค่ะ
5. ดื่มน้ำอัดลมน้ำหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเยอะเกินไป
น้ำอัดลมทุกยี่ห้อ หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงๆ โดยเฉพาะน้ำผลไม้กล่องหรือกระป๋อง กาแฟเย็น ชานมเย็น และชานมไข่มุก เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงมาก แต่ไม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์และไม่ช่วยให้เราอิ่มท้องด้วย ยิ่งทานยิ่งหิวยิ่งอ้วน และการที่ร่างกายเราได้รับพลังงานแคลอรี่ที่มากเกินความต้องการ ปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายและที่ตับก็มากขึ้นไปตามกัน
6. ขาดแบคทีเรียชั้นดี
โดยเฉพาะในทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ ซึ่งควรจะมีแบคทีเรียดีที่ช่วยย่อยอาหารอยู่ เพื่อสร้างความสมดุล สร้างวิตามิน และเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย
แต่ด้วยพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีเคมีปนเปื้อน รวมถึงยาเคมีและยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆส่งผลให้แบคทีเรียดีเหล่านี้อยู่ไม่ได้ ต้องตายหรือมีปริมาณน้อยลงไปเรื่อยๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคไขมันพอกตับค่ะ
โรคไขมันพอกตับ มีอาการอย่างไรบ้าง?
อาการเบื้องต้นที่หมอจะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือ อาการที่พบบ่อย แต่หลายคนจะไม่มีอาการอะไรเลยในระยะแรก หรือมีอาการเหล่านี้ไม่ครบทุกข้อก็ได้
- เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง
- รู้สึกว่าท้องข้างขวาตึงและมีอาการปวดเล็กน้อย
- ถ้าตรวจเลือด ค่าเอนไซม์ AST และ ALT จะมีระดับสูงขึ้นผิดปกติ
- มีระดับฮอร์โมนอินซูลินในกระแสเลือดสูง
- มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดสูง หากไม่ทำการรักษา อาการก็จะหนักขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราจะสังเกตได้สดังนี้ค่ะ
- รู้สึกเบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอะไรเลย
- เวียนศีรษะ คลื่นไส้และอยากอาเจียนบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
- รู้สึกปวดท้องตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงปวดมากที่สุด
- สีตาขาวและสีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
หมอขอฝากเตือนว่า อย่าพยายามรักษาโรคไขมันพอกตับด้วยตนเอง เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่ถูกค่ะ
โรคไขมันพอกตับ ควรป้องกันและมีวิธีแก้ไขอย่างไร?
จริงๆแล้วมีหลายอย่างเลยค่ะที่เราทำได้ทันทีเพื่อป้องกันโรคไขมันพอกตับ โดยเฉพาะการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหาร โดยเฉพาะงดหรือลดอาหารที่มีคาร์บเชิงเดี่ยวที่เกริ่นไป
นอกจากนี้ยังมีสารสกัดจากธรรมชาติหลายชนิดที่ช่วยลดการอักเสบและแก้ไขไขมันที่พอกตับให้ลดลงจนถึงหายได้คะ
ลดน้ำหนัก รับประทานอาหารแต่พอดี
ถ้าเราอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนัก คือ วิธีป้องกันโรคไขมันพอกตับที่ดีที่สุดค่ะ
ประเด็น คือ เราต้องมีวินัยในการควบคุมอาหาร แค่เราลดปริมาณแคลอรี่ต่อวันลงได้ 500 แคลอรี่ ต่อวัน แค่นี้น้ำหนักตัวก็จะลดลงมากถึง 8% ก็สามารถป้องกันการเกิดไขมันในตับได้คะ
ลดปริมาณคาร์บเชิงเดี่ยวลง
หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าเป็นโรคไขมันพอกตับ ก็ต้องลดปริมาณไขมันลง แต่เหตุผลที่คนส่วนใหญ่อ้วนตั้งแต่แรก คือ การรับประทานอาหารที่มีคาร์บเชิงเดี่ยวเยอะเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลทรายขาว และ High Fructose Corn Syrup
6 อาหาร ที่ช่วยกำจัดไขมันพอกตับ
นอกจากเราจะเลิกรับประทานอาหารที่เป็นสาเหตุอันได้แก่แป้งและน้ำตาลแล้ว เราก็ต้องเพิ่มสารอาหารที่ดีเข้าไปด้วยค่ะ
1. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fat)
อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก และพืชตระกูลถั่ว นอกจากจะช่วยให้เราอิ่มท้องนานขึ้นแล้ว ยังช่วยลดการสะสมของไขมันที่ตับด้วย
2. เวย์ โปรตีน (Whey Protein)
เวย์ โปรตีน (Whey Protein) จะมีโปรตีนสูงมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่จะได้รับจากอาหารน้อยเกินไป เวย์โปรตีนมีส่วนช่วยเพิ่มระดับเอนไซม์ในตับให้มีมากขึ้น และยังช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้นด้วยคะ
3. ชาเขียว (Green Tea)
ชาเขียว (ที่ไม่ใส่นมและน้ำตาล) มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidants) ที่ชื่อว่า คาเธชิน (Catechins) สูง ซึ่งคาเธชินจะเข้าไปช่วยลดไขมันที่ตับค่ะ
4. เส้นใยชนิดละลายในน้ำ (Soluble Fiber)
อาหารที่มีเส้นใยชนิดละลายในน้ำสูง เช่น ถั่วดำ อะโวคาโด บร็อกโคลี มันเทศ และถั่วลิสง มีส่วนช่วยลดไขมันที่ตับ และเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลินของร่างกาย ปริมาณที่แนะนำ คือ 10-14 กรัม ต่อวันค่ะ
5. ตรีผลา (3 Pla)
สารสกัดที่รวบรวมจากผลไม้ 3 ชนิด ตามพระไตรปิฎก ประกอบด้วย มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก พบว่านอกจากช่วยป้องกันไขมันพอกตับได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดไขมันพอกตับที่มีอยู่ให้น้อยลงด้วย รวมทั้งยังลดการอักเสบของตับ และรักษาโรคเบาหวานที่ดื้ออินซูลินระยะต้นได้ดี
6. สารสกัดขนาดโมเลกุลเล็กจากสาหร่ายทะเลน้ำลึก (Oligofucoidans)
รายงานจากรายงานวิจัยต่างประเทศ พบว่า Oligofucoidans สามารถช่วยในการซ่อมแซมตับและป้องกันไขมันพอกตับได้
นอกจากนี้ในศาสตร์การแพทย์ Orthomolecular Medicne จะเน้นการรักษาด้วยการให้สารอาหารต้านอนุมูลอิสระเข้าทางเส้นเลือด ร่วมกับวิตามินซีปริมาณสุง (High Dose Vitamin C) พบว่าข่วยลดการอักเสบของตับได้รวดเร็ว และลดการพอกไขมันที่ตับเพิ่มได้ด้วยคะ
ทั้งนี้ต้องปรึกษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคะ
หลักการออกกำลังกาย เพื่อลดนำ้หนักและป้องกันไขมันพอกตับ
นอกจากอาหารแล้ว เราก็ต้องเพิ่มการออกกำลังกายเข้าไปด้วย
การออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือคาร์ดิโอแบบ HIIT (High Intensity Interval Training) ต่างก็จะช่วยเราลดไขมันที่ตับได้ค่ะ แต่ห้ามในรายที่มีตับอักเสบอยู่นะคะ
ระยะเวลาที่แนะนำ คือ เราควรบริหารเวลาเพื่อออกกำลังกายให้ได้วันละ 30-60 นาที เลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะกับเราที่สุดและที่เรามีฉันทะเพราะเมื่อไขมันลดแล้ว เราก็ยังต้องหมั่นออกกำลังกายต่อเนื่องจนเป็นนิสัยค่ะ
โรคไขมันพอกตับนั้นเป็นภัยใกล้ตัว ที่ค่อยๆบั่นทอนสุขภาพเราไปเรื่อยๆ หากปล่อยไว้ปัญหาสุขภาพอื่นๆอาจจะตามมาได้ เช่น โรคมะเร็งตับ หรือ ภาวะตับวายระยะสุดท้าย ซึ่งการรักษาจะยากมากๆ
เราหวังว่าคำแนะนำเหล่านี้จะมีประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ได้ทันท่วงทีเพื่อป้องกันโรคไขมันพอกตับ และช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาแล้วมีอาการข้างเคียงน้อยลงค่ะ
ถ้าท่านใดมีความสนใจที่จะรักษาหรือป้องกันโรคไขมันพอกตับ สามารถติดต่อมาที่สถาบันสุขภาพผิวหนังและการแพทย์ชะลอวัยดร. อรวรรณ ได้ตามรายละเอียดด้านล่างค่ะ
สาขากรุงเทพ: สุขุมวิท 02-6614431
สาขาภูเก็ต: 076-377679
แวะสอบถามด้วยตนเองกับทีมงานของเราได้ที่ สถานี BTS ชิดลม ทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30–18:30 ค่ะ
บทความนี้หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์ กด Share ให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะค่ะ