fbpx

การรักษาโรคอ้วน – อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นโรค”อ้วน”

กันยายน 2, 2019
การรักษาโรคอ้วน

คำว่า”อ้วน”นี้ ต้องอ้วนขนาดไหนจึงเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน และมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ต้องดูแลอย่างไร
หมอมีคำตอบคะ

โรคอ้วน คือภาวะที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปจนเสี่ยงต่อการเกิดโรค

เกณฑ์มาตรฐานสากลที่ใช้กำหนดผู้ที่มีภาวะอ้วน คือ การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (น้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง) ผู้ที่มีภาวะอ้วน คือ ผู้ที่มีค่า BMI อยู่ที่ 30 ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีค่า BMI ทั้งที่อยู่ในกลุ่มน้ำหนักเกิน (BMI อยู่ที่ 25 ขึ้นไปในผู้ชาย, 23 ขึ้นไปในผู้หญิง) ไปจนถึงอยู่ในภาวะอ้วน (BMI อยู่ที่ 30 ขึ้นไป)ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพเป็นพิเศษคะ
อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ตรวจหาภาวะอ้วน คือ การตรวจวัดรอบเอว โดยผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพ คือ ผู้ชายที่มีรอบเอวเกินกว่า 90 เซนติเมตร หรือ36”และผู้หญิงที่มีรอบเอวเกินกว่า 80 เซนติเมตรหรือ32”ค่ะ นอกจากนี้ก็มีอีกวิธีง่ายๆคือนำส่วนสูงลบ110ซมเป็นนำ้หนักที่ควรเป็นในผู้ชาย และส่วนสูงลบ100ซมเป็นนำ้หนักที่ควรเป็นในผู้หญิงคะ

โรคอ้วนเกิดได้จากหลายสาเหตุนะคะ หลักๆจะแบ่งเป็นสาเหตุภายนอกและสาเหตุภายใน

สาเหตุภายนอก – เป็นสาเหตุหลัก มาจากการตามใจปากเห็นแก่ความอร่อยติดในรสชาติของอาหารหวานมันนั่นเอง หากกินมากเกินที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน ร่างกายก็จะสะสมเป็นไขมันจนเกิดเป็นโรคอ้วนนั่นเอง เราต้องรับประทานอาหารให้สมดุลย์กับพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันสาเหตุภายนอกอีกอย่างคือการขาดการออกกำลังคะ เมื่อร่างกายได้ออกกำลังใช้พลังงานจะเป็นวิธีที่ช่วยลดไขมันสะสมในร่างกายได้ค่ะ
สาเหตุภายใน – เกิดได้จากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อในร่างกายเช่นความผิดปกติพร่องของต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์นั้น และฮอรโมนเพศเองสามารถส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันตามต้นแขน ต้นขา หน้าท้องและคราบคลอเลสตอรอลในเส้นเลือด ไขมันพอกตับได้ง่ายขึ้นค่ะ นอกจากนี้อาจเกิดการทานอาหารมากเกินจากภาวะจิตใจและอารมณ์ที่แปรปรวนเช่นการทานแก้เครียดนั่นเอง ในบางคนก็มีเรื่องความไม่สมดุลของความอิ่มกับความหิวด้วยค่ะ หากเราหิวอยู่ตลอดก็ทำให้การกินมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของความอ้วนได้ค่ะ มีเคล็ดลับในการรับประทานอาหารแต่พออิ่มประมาณ80%ต้องหยุดทานหาดเราพยายามทานต่อจะเกิดภาวะร่างการสร้างอินซูลินเพิ่มรอบสองทำให้ไม่อิ่มแล้วแต่กลับทานได้มากขึ้นจนท้องอืดอิ่มเกินก่อสภาวะทานไม่รู้จักอิ่มทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกิน
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆเช่นจากพันธุกรรม, จากการเลือกรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน รวมทั้งแอลกอฮอลและยาเคมีและฮอร์โมนบางชนิดเข่นสเตียรอยด์และฮอร์โมนเพศ รวมถึงยาแก้แพ้ต่างๆมีผลต่อเรื่อง ความอยากอาหารและการสะสมไขมันส่วนเกิน

โรคอ้วนนั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคแทรกซ้อนมากมายหลายอย่างเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบแตกตัน และโรคมะเร็งต่าง ๆ และคนอ้วนจะอายุสั้น จึงควรควบคุมนำ้หนักด้วยการระวังเรื่องอาหารและยา และหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ คอยชั่งนำ้หนัก หากพบว่ามีน้ำหนักเกินแล้วควรจะรีบจัดการก่อนที่เราจะเป็นโรคอ้วนจริงๆนะคะ โดยหมอมีคำแนะนำ

วิธีดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคอ้วนและโรคแทรกซ้อนดังนี้คะ

  1. ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน โภชนาการ ควบคุมอาหาร ลดแป้ง และน้ำตาลเน้นผักและผลไม้ เพิ่มวิตามินและกากใยไฟเบอร์ให้ร่างกาย รวมถึงเอนไซม์ข่วยย่อยต่างๆ ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างน้อย 8 – 10 แก้วต่อวัน น้ำจะช่วยขับสารพิษ รักษาสมดุล และปรับอุณหภูมิที่เหมาะสมของร่างกาย
  2. เลือกวิธีปรุงอาหารแบบ ต้ม นึ่ง หรือทานผักสดมากกว่าการทอดหรือผัดหรือย่าง
  3. ลด ละ เลิก เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์สูง เช่น น้ำอัดลม (1 กระป๋องมีน้ำตาล 7 – 12 ช้อนชา) และเครื่องดื่มชาเขียว (1 ขวดมีน้ำตาล 8 – 14 ช้อนชา)นำ้ผลไม้กระป๋องในท้องตลาด
  4. ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยและไม่ควรหักโหมจนเกินไป สำหรับผู้มีน้ำหนักมากเลี่ยงกีฬาหรือการออกกำลังที่ทำให้เกิดการกระแทกของข้อเข่าและเท้า ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บได้ เปลี่ยนเป็นการเดินเร็ว โยคะ หรือว่ายน้ำ
  5. นอนหลับพักผ่อนในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ 22.00 – 06.00 น. โดยหลับสนิทในห้องมืดสนิทติดต่อกันนาน เพราะการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ จะทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายเสียสมดุล
  6. เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นในแต่ละวัน เริ่มง่าย ๆ ด้วยการแกว่งแขน ทำท่ากายบริหารง่าย ๆ เดินเล่นในสวน ขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินแทนการนั่งรถ จัดตารางการออกกำลังกายส่วนตัวที่ต้องทำสม่ำเสมอ
  7. หากทำทุกวิถีทางแล้วยังไม่สามารถลดความอ้วนได้ ใหเลิงอาหารสูตรคีโตที่หมอเกริ่นไว้ในบทความก่อนนี้ รวมถึงการอดอาหารมื้อเย็นที่เรียกว่าอินเตอรมิดเท้นฟาสติ้ง (ในบทก่อน)
  8. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม โดยศาสตร์การแพทย์องค์รวมจะใข้เทคโนโลยีตลื่นแสงอินฟ้าเรดร่วมกับคลื่นเสียงความถี่สูง ฝังเข็มปรับสมดุลย์และการใช้สารสกัดช่วยเร่งขบวนการเผาผลาญตลอดจนลดการดูดซึมแป้ง ไขมันและนำ้ตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดไปจนถึงการตรวจสารอาหารภูมิแพ้แอบแฝงที่ทำให้ร่างกายสะสมไขมันมากผิดปกติและการให้วิตามินหยดเข้าเส้นช่วยเร่งการเผาผลาญและปรับสมดุลย์ฮอร์โมนและร่างกาย

การรักษาโรคอ้วนนอกจากช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆที่จะต้องตามมาแน่นอนไม่ข้าหรือเร็วได้แล้วยังข่วยให้คุณภาพชีวิตดี อายุยืน และรูปร่างสวยงามคล่องตัวอีกด้วยคะ

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

7 habits of emotionally intelligent person
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
นิสัย 7 ประการของผู้ฉลาดทางอารมณ์
กล่าวโดยสรุป ผู้ที่มีความฉลาดท...
what is probiotic
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
Probiotics คืออะไร? สุขภาพดี…เริ่มต้นที่ลำไส้
การที่จะทำให้ลำไส้ของเราแข็งแร...
โรคเบาหวาน ความดัน
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กัน
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กั...