fbpx

โรคตุ่มน้ำพอง ของพระเอกเมฆ (วินัย ไกรบุตร)

โรคตุ่มน้ำพอง ของพระเอกเมฆ (วินัย ไกรบุตร)

มิถุนายน 20, 2019
วินัย-ไกรบุตร

หลายคนเป็นห่วง…ตื่นตกใจ “วินัย ไกรบุตร” อดีตพระเอกชื่อดัง ป่วยโรคเพมพิกอยด์” หรือ “เพมพิกัส” (โรคตุ่มน้ำพอง) ด้านหมอเผยโรคนี้มี “ยารักษา” พร้อมแนะวิธีผู้ป่วยเป็นแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร

หลายคนเป็นห่วง…ตื่นตกใจ เมื่ออดีตพระเอกชื่อดัง วินัย ไกรบุตร ซึ่งก่อนหน้านี้ยังเห็นเจ้าตัวโหมออกกำลังกาย เดินสายวิ่งอยู่เป็นระยะๆ แต่สักพักเริ่มเงียบหายไป

กระทั่งวินัยตัดสินใจไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก @วินัย ไกรบุตร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวกำลังป่วยร่างกายทรุดโทรมด้วย “โรคหายาก” มีตุ่มน้ำพองขึ้นเต็มตัว โดยบอกตอนนี้เป็น “ภูมิแพ้ตัวเอง”

ภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติที่ผิวหนัง 1 ใน 4 แสนคน คนไทยมีไม่ถึง 10 คน โชคดีหรือโชคร้ายไม่รู้ เป็นพอดี อาจจะเกิดจากการทำงานดึก ออกกำลังกายเยอะเกินไปหรือไม่ บวกกับโดนน้ำร้อนลวก ผิวหนังเสียหาย ไปหามา 15 หมอ สุดท้ายมาจบที่โรงพยาบาลจุฬาฯ

เอาชิ้นเนื้อไปตรวจ หมดไปหลายแสน ปรากฎว่าเป็น “โรคเพมพิกอยด์” หรือ “เพมพิกัส” (โรคตุ่มน้ำพอง) ขึ้นทุกที่ทั้งหัว หน้า คอ จักแร้ แขน ฝ่าเท้า ก้น และขาหนีบ อันตรายน่ากลัวมาก ยิ่งกว่าวัณโรค ยิ่งกว่าไข้เลือดออก ไม่รู้ว่ากี่เดือนจะหาย ตอนนี้มาอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย.

โรคตุ่มน้ำพอง คืออะไรและเกิดจากอะไร?

ขณะที่ด้าน ภาควิชาตจวิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “โรคตุ่มน้ำพองจากภูมิคุ้มกัน” ไว้ว่า เป็นโรคที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อผิวหนังและเยื่อบุของตนเอง

ทำให้เกิดการแยกตัวของผิวหนัง ในชั้นหนังกำพร้า หรือบริเวณรอยต่อของหนังกำพร้า และหนังแท้ ทำให้เกิดตุ่มน้ำพองขึ้นที่ผิวหนัง หรือเยื่อบุต่างๆ เช่น ในปาก เป็นต้น ตัวอย่างของโรคเหล่านี้ คือ โรคเพมฟิกัส (Pemphigus) และเพมฟิกอยด์ (Bullous pemphigoid)

ส่วนการรักษาโรคนี้ ยาหลักที่ใช้รักษาคือ เพรดนิโซโลน (prednisolone) จะเริ่มด้วยขนาดสูงก่อน เมื่อควบคุมอาการของโรคได้แล้ว จึงค่อยลดยาลง เพื่อหาจุดที่ใช้ยาต่ำสุดที่สามารถควบคุมได้

การปรับขนาดยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ถ้าผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงระหว่างรับประทานยาต้องรีบปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลและเพื่อพิจารณาปรับขนาดยาหรือเปลี่ยนไปใช้ยา กลุ่มอื่นๆ ที่ใช้ได้แก่ dapsone ยากดภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ (cytotoxic drugs)

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการน้อย อาจใช้ยา dapsone ควบคุมอาการของโรคได้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก อาจเริ่มควบคุมอาการของโรคด้วยเพรดนิโซโลนขนาดสูงร่วมกับยากดภูมิคุ้มกัน ระยะเวลาที่จะสามารถคุมโรคได้อาจใช้เวลาเป็นเดือน

ส่วนวิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ควรทราบว่าโรคในกลุ่มนี้มีความรุนแรงต่างกัน บางคนอาจมีตุ่มน้ำจำนวนน้อย แต่บางคนก็อาจมีตุ่มน้ำจำนวนมาก ถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่มีตุ่มน้ำจำนวนน้อยหากไม่ได้รับการรักษา อาการจะกำเริบมากขึ้นได้

โรคกลุ่มนี้เป็นโรคเรื้อรัง มีอาการของโรคอาจกำเริบและสงบสลับกันไป ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรรับการตรวจรักษาโดยสม่ำเสมอ และต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งโดยเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาหรือลดยาเองเพราะจะทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ เนื่องจากผู้ป่วยมักจะได้รับยาที่กดระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง

ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ ไม่ไปสถานที่แออัด เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ถ้ามีอาการที่บ่งถึงการติดเชื้อ เช่น ไข้สูง ไอ ปัสสาวะแสบขัด ควรปรึกษา
  • ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือไม่สะอาด
  • ถ้าโรคยังไม่สงบ ไม่ควรตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่รับประทานเพื่อควบคุมโรคอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ ถึงแม้ว่าโรคสงบแล้ว ถ้าจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะแพทย์อาจจะยังให้ยาบางชนิดเพื่อควบคุมโรคไม่ให้กำเริบ ซึ่งอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้เช่นกัน
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาเพรดนิโซโลน ถ้ามีอาการปวดท้องอุจจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือดควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ดื่มนมสด หรือ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม (Calcium) สูงป้องกันกระดูกพรุน

สำหรับผู้ป่วยทีมีตุ่มน้ำแตกเป็นแผลในปาก ควรปฏิบัติดังนี้

  • ใช้น้ำเกลือ (Normal saline) อมกลั้วปากบ่อยๆ หรือทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากยาฆ่าเชื้อที่เข้มข้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารเผ็ด หรือเปรี้ยว จะทำให้แสบหรือเจ็บแผลมากขึ้น

สำหรับผื่นที่ผิวหนัง ควรปฏิบัติดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการประคบหรือพอกแผลด้วยสมุนไพร ผงหรือยาใดที่แพทย์ไม่ได้เป็นผู้สั่ง
  • ถ้าต้องการทำความสะอาดแผล ควรใช้น้ำเกลือ (Normal saline) เช็ดเบาๆ อาจใช้ยาทา เช่น ยาครีมฆ่าเชื้อ ไม่ควรปิดแผลบ่อยๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังหลุดถลอก
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารเผ็ด หรือเปรี้ยว จะทำให้แสบหรือเจ็บแผลมากขึ้น

เชิญรับการตรวจและปรึกษาสุขภาพได้ที่สถาบันสุขภาพผิวหนังและการแพทย์ชะลอวัยแบบองค์รวม ดร.อรวรรณ ได้ที่
สาขาสุขุมวิท 02-6614431
สาขาภูเก็ต 076-377679
หรือแวะปรึกษาด้วยตนเองที้ BTS ชิดลม
ทุกวัน 8.30-18.30 น.

ขอบคุณที่ช่วยแชร์บทความที่มีประโยชน์นี้เพื่อคนที่คุณรักและห่วงใยค่ะ

แหล่งข่าว: เดลินิวส์

รูปภาพ: Faceebok วินัย ไกรบุตร

Add a comment

*Please complete all fields correctly

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

7 habits of emotionally intelligent person
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
นิสัย 7 ประการของผู้ฉลาดทางอารมณ์
กล่าวโดยสรุป ผู้ที่มีความฉลาดท...
what is probiotic
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
Probiotics คืออะไร? สุขภาพดี…เริ่มต้นที่ลำไส้
การที่จะทำให้ลำไส้ของเราแข็งแร...
โรคเบาหวาน ความดัน
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 21, 2021
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กัน
แอบฟังเซลล์ในร่างกายคุย(บ่น)กั...