fbpx

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ภัยเงียบที่คนมองข้าม

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ภัยเงียบที่คนมองข้าม

มิถุนายน 14, 2019
โรคกระดูกพรุน, กระดูกบาง, กระดูกหัก, กระดูกแตก

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภัยใกล้ตัวที่อันตรายมาก หลายท่านคงเคยเห็น คนที่มีอายุเลยหลัก 50 ขึ้นไป มีอาการของโรคกระดูกพรุน เช่น หลังเริ่มหง่อม เดินเหินลำบาก บางครั้งเผลอลื่นล้ม เอาแขน ขา หรือก้นลงจนกระดูกร้าวหัก ทำให้คุณภาพขีวิตเปลี่ยนไปกลับมาเดินหรือทำกิจกรรมไม่ได้เหมือนเดิม

เราจึงควรมีความตื่นตัวในเรื่องการป้องกันโรคกระดูกพรุนตั้งแต่เนิ่นๆก่อนวัยทอง การรับประทาน อาหารเสริมแคลเซียม (Calcium) แบบเดิมๆไม่อาจช่วยแก้ปัญหาโรคกระดูกพรุนได้ แถมอาจพบผลข้างเคียงท้องอืดท้องผูกตามมา

โรคกระดูกพรุนเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง ใครเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย และในระยะยาวเราควรป้องกันอย่างไร

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คืออะไร?

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่เกิดจากกระดูกสูญเสียมวลกระดูก ที่เป็นตัวทำให้กระดูกหนาแน่นและแข็งแรง พอมวลกระดูกลดน้อยลง ก็จะเสี่ยงที่กระดูกจะหัก ยุบ ร้าวหรือมีการคดงอ มีอาการปวดกระดูกเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง แขน ขา และสะโพก

โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน

กระดูกที่พรุนจะมีความกลวงภายในมากขึ้น มวลกระดูกส่วนที่อยู่ตรงกลางจะน้อยลง และกระดูกส่วนด้านนอกก็จะบางลงและอ่อนแอลงเรื่อยๆเสี่ยงต่อการหกล้มหรือกระแทกแล้วกระดูกหัก ร้าว หรือแตก ปวดขัดภายใน การเดิน ลุก นั่ง และยืนจะทำได้ลำบากมากขึ้น

โรคกระดูกพรุน มีอาการอย่างไรบ้าง?

ในช่วงแรกที่กระดูกเริ่มอ่อนแอและเสียมวลกระดูกนั้น เราจะไม่รู้สึกอะไรเลยค่ะ คนส่วนใหญ่จะรู้ก็ต่อเมื่อหกล้มแล้วกระดูกร้าวหรือหักเลย

3 สัญญาณโรคกระดูกพรุน

  • เหงือกบางหรือมีปัญหาเกี่ยวกับเหงือกและฟันบ่อยๆ เหงือกร่น
  • มือไม่มีแรง นิ้วชอบล็อค จับของหนักๆแล้วก็ทำหล่น
  • เล็บบางหักง่าย ไม่แข็งแรง และอาจจะงอกช้า

การมีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อปรึกษาหาวิธีป้องกันค่ะ

โรคกระดูกพรุนหากไม่ทำการป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี อาการของโรคจะเกิดขึ้นและเป็นไปเร็วมาก กระดูกเราจะอ่อนแอและบางลงได้อย่างรวดเร็ว
ในบางคนอาการปวดกระดูกหรือกระดูกร้าว สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่ตอนจามหรือไอด้วยซ้ำ

ถ้าอาการมากขึ้น จะเริ่มรู้สึกเจ็บที่กระดูกตรงคอและตัวจะเตี้ยลง นั่นเป็นเพราะกระดูกบางเกิดการยุบตัว (Compression Fracture) ซึ่งก่อผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้ง่าย ต้องใช้เวลาในการรักษายากและนานขึ้น จึงควรเรียนรู้วิธีป้องกันและดูแลสุขภาพกันแต่เนิ่นๆค่ะ

4 สาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

1. อายุที่มากขึ้น

เราก็จะสูญเสียและสร้างมวลกระดูกลดลงไปเรื่อยๆ หลังจากอายุ 30 ปี ร่างกายเราจะสร้างกระดูกน้อยลง แต่อัตราการสูญเสียมวลกระดูกกลับสูงขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนหลายตัวเริ่มลดลง
ผลที่ตามมา คือ กระดูกที่บาง อ่อนแอ และมวลกระดูกด้านในน้อยลง เสี่ยงต่อการแตก หัก โก่ง และงอ

โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนในวัย 45-55 ปี จะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากที่สุด ส่วนผู้ชายก็จะเริ่มชัดที่อายุ55-65 ปี พอผู้หญิงและผู้ชายมีอายุระหว่าง 65-70 ปี อัตราการสูญเสียมวลกระดูกจะเท่ากันเลย ความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนจึงเท่ากันในวัยชรา

2. ขาดการออกกำลังกายรวมถึงกายบริหารที่ถูกต้อง

ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของกระดูกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการสร้างฮอรโมนต่างๆ อันนำตวามแข็งแรงมาสู่กระดูกและกล้ามเนื้อ

3. ยาแก้อักเสบแก้ปวดเข้าสเตียรอยด์จะทำให้กระดูกพรุนอย่างรวดเร็ว

4. การขาดสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นในการสร้างมวลกระดูก

ซึ่งได้แก่

โรคกระดูกพรุน ใครเสี่ยงมากที่สุด?

  • คนที่อายุมากขึ้น โดยเฉพาะคนอายุเลย 65 ปี ไปแล้ว
  • โรคกระดูกพรุนเกิดขึ้นกับคนผิวขาวและคนเอเชีย (ไทย) มากที่สุด
  • คนที่มีพฤติกรรมเฉื่อยไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารขยะแป้งและน้ำตาล
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  • พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ผู้หญิงตัวเล็กที่มีรูปร่างผอมบาง
  • คนที่ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • คนที่ใช้ยาผิดหรือได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์
  • คนที่อยู่ในร่ม ไม่ค่อยได้เจอแสงแดด หรือขาดวิตามินดี
  • มีขนาดกระดูกที่เล็ก ซึ่งเกิดจากพันธุ์กรรม
  • มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

เราจะเห็นว่าความเสี่ยงหลายอย่างเราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุ เพศ และลักษณะของกระดูกที่เราได้จากพ่อแม่ แต่เราสามารถจัดการกับปัจจัยอื่นๆได้เลย โดยเฉพาะเรื่องการดูแลสุขภาพ ตรวจเช็คประจำปี เรื่องอาหารและการออกกำลังกาย

เราจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ตรวจกระดูกได้เลยไหม?

การที่จะเช็คว่าเราเป็นโรคกระดูกพรุนหรือเปล่า แพทย์จะต้องดูประวัติคนไข้ และมีการตรวจร่างกาย และอาจตรวจมวลกระดูก (Bone Density Test)

เพื่อความแม่นยำมากขึ้นแพทย์อาจส่งตรวจเลือดปัสสาวะเพื่อดูระดับฮอร์โมนต่างๆและวิตามินที่เกี่ยวข้องเพื่อหาสาเหตุและช่วยเสริมในส่วนที่ขาดเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคกระดูกพรุน รักษาอย่างไรได้บ้าง?

เดิมรักษาให้กระดูกเพิ่มมวลได้ยากมาก แต่ปัจจุบันมีข่าวดีค่ะ

โรคกระดูกพรุนรักษาให้หายได้แล้ว ด้วยโปรแกรมการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยป้องกัน ลดอาการ ลดอัตราการสูญเสียมวลกระดูก และเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกกลับมาแข็งแรงได้ โดยแน่นอนว่า จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวกับอาหารและการออกกำลังกาย

สารอาหารที่จำเป็นก็จะมี แคลเซียม (Calcium) แมกนีเซียม( Magnesium) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และวิตามินดี (Vitamin D) และวิตามินเค (Vitamin K) และที่ขาดไม่ได้ คือ การออกกำลังกายที่เหมาะสม

ยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน มีอะไรบ้าง?

มีตัวยาที่มีชื่อว่า “Bisphosphonates” ช่วยลดอัตราการสูญเสียมวลกระดูกได้ มีทั้งแบบรับประทานและแบบฉีด

แต่มีผลข้างเคียงได้มาก ในบางรายเกิดการเน่าของกระดูกกรามได้ และทำให้มีอาการปวดหัว ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อได้ จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การทำฮอร์โมนบำบัด (Hormone Therapy) ซึ่งจะต้องดูแลโดยแพทย์เท่านั้น ต้องการความละเอียดในการให้ฮอร์โมนที่จำเป็น ที่ต้องใช้ตามศาสตร์การแพทย์ชะลอวัยที่จะค่อยๆเพิ่มฮอร์โมนทีละตัวที่ร่างกายจำเป็นเฉพาะบุคคล เช่น ฮอร์โมนเพศสำหรับชายและหญิง (Testosterone & Esterogen) โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid Hormone) เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นต้น

มีวิธีรักษาโรคกระดูกพรุนแบบธรรมชาติไหม?

ในการรักษาแบบองค์รวมที่สถาบันฯ จะเน้นการออกกำลังกายร่วมกับการเสริมสารอาหารสกัด ที่ประกอบด้วย

  • งาดำ (Black Sesame)
  • ข้าวสีนิล ( Sesameal)
  • สารสกัดโมเลกุลเล็กนาโนจากเกล็ดปลาคาร์พ (Protetite) ที่มีงานวิจัยรับรองถึงผลการเพิ่มมวลกระดูกได้จริงภายในสามเดือน สามารถพิสูจน์ด้วยการตรวจมวลกระดูกได้ ร่วมกับการเสริมฮอรโมนที่ขาดด้วยอาหารแทนการใช้ฮอร์โมนเคมี เป็นธรรมชาติบำบัด ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีมากคะ

หลักการออกกำลังกายสำหรับคนโรคกระดูกพรุน

เราจะดูแลแค่เรื่องอาหารอย่างเดียวไม่ได้ค่ะ เราต้องมีการออกกำลังกายควบคู่ด้วย โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบออกแรงดัน (Resistance Training) เช่น เวท เทรนนิ่ง (Weight Training) ที่ใช้ดัมเบล แผ่นเหล็ก หรือน้ำหนักตัวเพื่อเพิ่มแรงต้านทาน

ตัวอย่างท่าออกกำลังกายมีดังนี้

วิดพื้น หรือ Push-ups (คลิกเพื่อดูวีดีโอ/รูปภาพตัวอย่าง)

วิดพื้น (Push Ups)วิดพื้น (Push Ups)

Squats หรือ Air Squat (คลิกเพื่อดูวีดีโอ/รูปภาพตัวอย่าง)

Bodyweight Lunges (คลิกเพื่อดูวีดีโอ/รูปภาพตัวอย่าง)

การออกกำลังกายแบบออกแรงดัน จะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและกระดูกมีการหดและยืดตัว ในขณะเดียวกันกระดูกเราจะสร้างความแข็งแรงเพื่อรองรับน้ำหนักหรือแรงต้านที่มากขึ้น

นอกจากจะได้ประโยชน์ในเรื่องของกล้ามเนื้อและมวลกระดูกโดยตรงแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนต้านชราทั้งโกรธฮอร์โมน ( Growth Hormone) และเทสโทสเตอโรน ( Testosterone ) ด้วย

การออกกำลังกายยังจะช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนัก การเผาผลาญไขมัน เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหัวใจ และเพิ่มการทรงตัวที่จะช่วยให้เราไม่หกล้ม ซึ่งเกิดได้ง่ายในผู้สูงอายุค่ะ

ก่อนที่เริ่มไดเอทหรืออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อดูว่าเราออกกำลังกายได้หรือยัง รูปแบบการออกกำลังกายแบบไหนที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายตอนนี้

ทิปส์ดีๆจากสถานบันสุขภาพผิวหนังและการแพทย์ชะลอวัยแบบองค์รวมดร. อรวรรณ

  • เรามาเริ่มทำในสิ่งที่เราทำได้เพื่อชะลอหรือป้องกันโรคกระดูกพรุนกันตั้งแต่วันนี้เลยนะคะ
  • รับประทานอาหารเสริมแคลเซียม วิตามินดี หรือสาร Protetite ที่มีงานวิจัยและได้รับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอทั้งคาร์ดิโอและเวทเทรนนิ่ง
  • เลิกบุหรี่หรืออยู่ห่างคนสูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มสุรา
  • พบแพทย์ปรึกษาเรื่องสารอาหารและฮอร์โมนบำบัดที่จำเป็น

การป้องกันเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะเมื่อกระดูกหักหรือแตกจะทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิตลง ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือน เสี่ยงที่จะเป็นแผลกดทับ การไหลเวียนโลหิตไม่ดี เส้นเลือดขอด เสี่ยงเป็นโรคปอด ท้องผูก อาหารไม่ย่อย และการติดเชื้ออื่นๆ เป็นต้น ทั้งจะไม่ได้ใช้ชีวิตได้ดีเท่าเดิมอีก

ทุกคนมักพูดเตือนเสมอว่าในคนสุงอายุสิ่งที่ต้องระวังที่สุด คือ อย่าให้ล้มเพราะกระดูกจะหัก หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะถดถอยอย่างรวดเร็ว การป้องกันและเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงไว้จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากในการขะลอวัยคะ


สนใจการทำให้กระดูกแข็งแรงและชะลอการสูญเสียมวลกระดูกแบบธรรมชาติ หรือการรักษาแบบองค์รวมที่เน้นการมีสุขภาพที่ดีจากภายใน สามารถติดต่อสอบถามมาที่สถาบันสุขภาพผิวหนังและการแพทย์ชะลอวัยแบบองค์รวมดร. อรวรรณ ได้ที่
สาขากรุงเทพ: สุขุมวิท 02-6614431
สาขาภูเก็ต: 076-377679
แวะสอบถามด้วยตนเองกับทีมงานของเราได้ที่ สถานี BTS ชิดลม ทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30–18:30 ค่ะ

ถ้าคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมกด Share ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

Add a comment

*Please complete all fields correctly

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 31, 2023
หัวไชเท้า ทานอาหารเป็นยา
หัวไชเท้า ❤️ เมื...
Posted by Dr. Orawan | พฤษภาคม 31, 2023
HIIT ( high intensity interval training )
HIIT ( high intensity interval...
Posted by Dr. Orawan | ธันวาคม 20, 2022
ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดคือช่วงที่ความมั่นใจในตัวเองพุ่งถึงขีดสูงสุด
ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดคือช่ว...