โรคกรดไหลย้อน มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) คือ โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากการที่กรดหรือน้ำย่อยจากกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร
โรคกรดไหลย้อนเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่และไม่เลือกวันและเวลาด้วย แม้เราจะไม่ได้รับประทานอาหารเลย อาการก็จะเป็นขึ้นมาได้เหมือนกันค่ะ
ด้วยชีวิตที่เร่งรีบ จนรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา บางคนพอรับประทานเสร็จก็ต้องเข้านอนเลยเมื่อเป็นโรคกระเพาะและกรดไหลย้อนก็จะมีอาการแสบ ปวด ท้องอืดและทรมานไปหมด ซึ่งหลายคนคงมีประสบการณ์มาก่อน
การเรียนรู้สาเหตุ พฤติกรรมเสี่ยง และวิธีรักษาที่ได้ผล จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนค่ะ
โรคกรดไหลย้อน (GERD) คืออะไร?
โรคกรดไหลย้อน (GERD) จำง่ายๆก็เหมือนชื่อเลยค่ะ นั่นคือ น้ำย่อยที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบและทรมาน จุกที่อกและท้องส่วนบน
ถ้าเรามีอาการแบบนี้ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ สามารถคาดเดาได้เลยค่ะว่าโรคกรดไหลย้อนกำลังมาเยือน และถ้าไม่ทำการรักษาให้ถูกต้องจนอาการกำเริบและหนักขึ้นจะมีผลต่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพโดยรวมค่ะ 5-10% ที่มีอาการเรื้อรัง มีสิทธิ์ที่จะกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารในที่สุดได้คะ
โรคกรดไหลย้อน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท นั่นคือ
- โรคกรดไหลย้อนแบบธรรมดา โรคกรดไหลย้อนแบบนี้จะเกิดจากการที่น้ำย่อยไหลย้อนกลับมาถึงแค่หลอดอาหารเท่านั้น แต่ยังไม่ถึงหูรูดหลอดอาหารส่วนบนค่ะ
- โรคกรดไหลย้อนแบบรุนแรง ถ้าถึงขั้นนี้แล้ว น้ำย่อยจากกระเพาะจะไหลขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หรือย้อนขึ้นมาเหนือหูรูดหลอดอาหารส่วนบน ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคือง บางรายออกอาการมาที่หูด้วยคะ
อาการเบื้องต้นของโรคกรดไหลย้อนที่เราต้องรู้
อาการเบื้องต้นที่ทุกคนต้องเจอ คือ รู้สึกแสบร้อนที่ตรงหน้าอกใต้ลิ้นปี่ จนถึงคอ หรือที่เรียกว่า “Heart Burn” นั่นแหละค่ะ
ในเคสที่เป็นโรคกรดไหลย้อน อาจจะได้รับรสเปรี้ยวๆขมๆที่ลิ้น และบางทีกลิ่นหรือตัวอาหารเอง อาจจะขึ้นมาถึงในปากก็ได้
ในกรณีที่เป็นหนักมาก คนไข้จะมีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร จนไปกระทบกับการหายใจ เกิดอาหารไอเรื้อรัง และเป็นโรคหอบหืดได้ค่ะ ออกหูก็จะมีอาการหูอื้อได้คะ
โรคกรดไหลย้อน รุนแรงขนาดนี้ เกิดจากอะไร?
โรคกรดไหลย้อนเกิดจากการที่ หูรูดส่วนล่างของหลอดอาหาร (Lower Esophageal Sphincter หรือ LES) ทำงานผิดปกติ ซึ่งปกติแล้วหูรูดส่วนนี้จะเปิดออกเมื่อเรากลืนอาหาร และหลังจากนั้นก็จะปิดทันทีเมื่อเรากลืนเสร็จ
หากหูรูดไม่เปิดและปิดตามที่ควรจะเป็น น้ำย่อยอาหาร และอาหารก็จะไหลย้อนกลับขึ้นมา ทำให้เกิดอาการของโรคกรดไหลย้อนนั่นเองค่ะ
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆก็มีส่วนที่จะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนเหมือนกันค่ะ เช่น
- คนอ้วน/น้ำหนักเกิน จะมีความดันในกระเพาะอาหารสูงกว่าปกติ
- คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อเจ้าตัวเล็กโตขึ้นเรื่อยๆ ความดันในช่องท้องก็จะยิ่งมีมากขึ้น
- คนสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินมีส่วนกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากเกินไป
- ความเครียด เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนเครียด หรือคอร์ติซอล (Cortisol) มากขึ้น กระเพาะอาหารจะหลั่งกรดออกมามากขึ้นได้
- การติดเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori
โรคกรดไหลย้อนถ้าปล่อยไว้นานๆ โดยไม่รับการรักษา อาจจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น หลอดอาหารอักเสบ มะเร็งที่หลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นแผลในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ป่วยเป็นโรคหอบ ไอเรื้อรัง มีปัญหาเรื่องการหายใจ เหงือกอักเสบ ฟันผุ ตลอดจนหูอื้อ และหูอักเสบได้
วิธีที่ดีที่สุด คือ การปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษาและเรียนรู้วิธีป้องกันค่ะ
5 ข้อห้าม/ข้อควรระวัง เพื่อป้องกันโรคกรดไหลย้อน
- ไม่สูบบุหรี่ หรือ อยู่ใกล้คนสูบุหรี่
- รับประทานอาหารให้พอดี ไม่ทานมากจนเกินไป
- หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ไม่ควรนอนราบหรือเข้านอนเลยทันที หรือทำงานเคร่งเครียดทันที ควรเว้นระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- ควรเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน เช่น อาหารรสจัด และเมนูชุปแป้งทอดทุกชนิด
- เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงๆ เช่น น้ำอัดลม ชา/กาแฟเย็น และแอลกอฮอล์
อาหารบางชนิดอาจจะยิ่งทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้น หรือเพิ่มความเสี่ยงได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายในแต่ละคนนะค่ะ
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
- อาหารรสจัด
- ช็อกโกแลต
- ผลไม้ตระกูลส้ม เช่น มะนาวและส้ม
- สัปปะรด
- มะเขือเทศ
- หัวหอมและกระเทียม
- สาระแหน่
- แอลกอฮอล์
- ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
นอกจากนี้ ยาบางชนิดอาจจะมีผลทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน มีข้อสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งค่ะ
โรคกรดไหลย้อน รักษาและป้องกันอย่างไรได้บ้าง?
คำแนะนำเพื่อรักษาและป้องกันโรคกรดไหลย้อน
- เลิกบุหรี่
- ลดน้ำหนัก โดยหมั่นออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร
- เคี้ยวหมากฝรั่งหลังจากรับประทานอาหาร
- ไม่ควรนอนหลังมื้ออาหาร
- เลี่ยงอาหารต้องห้าม อาหารที่แพ้ หรืออาหารที่ทำให้อาหารของโรคกรดไหลย้อนกำเริบ
- อย่าใส่เสื้อผ้าที่รัดจนเกินไป เพราะจะไปเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร และมีผลต่อการหายใจด้วย
- หาวิธีคลายเครียด หรือปรึกษาแพทย์บูรณาการเพื่อจัดการความเครียด ให้ยาลดกรด การปรับสมดุลย์ทางเดินอาหารด้วยการให้แบคทีเรียชั้นดี การฝังเข็มบำบัดร่วมกับเลเซอรเย็นและคลื่นควันตั้ม ตลอดจนการตรวจเลือดหาอาหาร หรือสาเหตุอื่นที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะกรดมากหรือไหลย้อน ตลอดจนการช่วยหาสาเหตุและกำจัดความเครียด การทานอาหารให้ตรงเวลา และการใช้ขมิ้นชันนาโนในการบำบัด เป็นต้น
สนใจปรึกษาเพื่อทำการรักษาโรคกรดไหลย้อน สามารถติดต่อมาที่ สถาบันสุขภาพผิวหนังและการแพทย์ชะลอวัยแบบองค์รวมดร.อรวรรณได้ที่
สาขากรุงเทพ: สุขุมวิท 02-6614431
สาขาภูเก็ต: 076-377679
หรือแวะสอบถามด้วยตนเองกับทีมงานของเราได้ที่ สถานี BTS ชิดลม ทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30–18:30 ค่ะ
บทความนี้หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์ กด Share ให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะค่ะ