อาการปวดหัวไมเกรนนั้นเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มักจะปวดศีรษะอยู่ข้างเดียว อาจย้ายข้างได้แต่มักเป็นทีละข้าง และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยและอาจมีความรู้สึกไวต่อเสียงและแสงสว่าง
มากกว่าปกติ การทำกิจวัตรทั่วไป เช่น การเดินหรือขึ้นบันได จะทำให้อาการปวดศีรษะเป็นมากขึ้น อาการจะดีขึ้นถ้าได้พักผ่อนอยู่นิ่งๆในห้องที่มืดและเย็น ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับรักษาที่เหมาะสม อาการปวดศีรษะจะเป็นอยู่นาน 4-72 ชั่วโมงได้ ในผู้ป่วยบางรายจะมีสัญญาณเตือนก่อนเกิดอาการปวดด้วยค่ะโดยจะมีการเห็นแสงวูบวาบเกิดขึ้น สามารถแบ่งอาการปวดศีรษะไมเกรนออกได้เป็น2ประเภทใหญ่ๆคือ
1. ไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน(Migraine without aura)
2. ไมเกรนที่มีอาการเตือน (Migraine with aura)
สาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรนยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสมองโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทไตรเจอมินอล (trigeminal nerve) นอกจากนี้ยังพบว่าโรคไมเกรนอาจเกิดจากปัจจัยกระตุ้นที่มาจากทั้งภายนอกและภายในร่างกาย เช่น ภูมิแพ้อาหารแอบแฝง อากาศร้อน การเห็นแสงจ้า ความเครียด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงอีกด้วย มักเกิดในช่วง 2 วันก่อนมีประจำเดือน ไปจนถึงวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน ในบางรายพบว่าเป็นไมเกรนแค่ช่วงเวลานี้เท่านั้น
โดยการเกิดไมเกรนนั้น จะเกิดขึ้นจากตัวกระตุ้นต่างๆเช่น อาหารที่แพ้ ภาวะเครียด, การอดนอน, การนอนและตื่นที่ไม่เป็นเวลา, ช่วงที่เป็นประจำเดือน, กลิ่นหรือควัน, การเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรือ ความร้อน, แสงแดด เป็นต้น
สำหรับอาหารบางชนิดที่แพ้แบบแอบแฝงนี้ต้องตรวจเลือดจึงจะสามารถทราบว่าเป็นจากอาหารชนิดใด หมอพบว่าผู้ป่วยหลายรายเพียงหยุดงดอาหารดังกล่าวหกเดือนก็สามารถหายขาดจากโรคไมเกรนได้
อาการปวดศีรษะไมเกรน
ผู้ป่วยแต่ละรายมักจะมีอาการที่แตกต่างกันตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สามารถแบ่งช่วงของอาการปวดศีรษะไมเกรนได้หลัก ๆ 4 ช่วง ดังนี้
- ระยะก่อนปวดศีรษะ (prodrome) ในช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ รวมถึงพฤติกรรมและความอยากอาหาร โดยอาการก่อนปวดศีรษะสามารถเกิดขึ้นได้หลายชั่วโมงหรือหลายวันก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดศีรษะ
- ระยะเห็นแสงวูบวาบ (aura) ผู้ป่วยบางรายอาจพบความผิดปกติของการมองเห็น เช่น เห็นแสงกะพริบหรือมีจุดบอดในขณะมองภาพ ซึ่งความผิดปกตินี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 5 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง
- ระยะปวดศีรษะ (headache) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีอาการปวดแบบตุบ ๆ ตามจังหวะหัวใจเต้น มักจะมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และผู้ป่วยบางรายอาจไวต่อแสงหรือเสียงดัง ซึ่งอาการปวดศีรษะอาจยาวนาน 4-72 ชั่วโมง
- ระยะหายปวด (resolution) โดยอาการปวดศีรษะและอาการอื่น ๆ จะค่อย ๆ ลดลง ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกเหนื่อยล้า ซึ่งอาจกินระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากหายปวดศีรษะ
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยไมเกรน
- สังเกตและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และตรงตามเวลาทุกวัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินไป
- งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke)
- งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ, ชา, น้ำอัดลม, เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
- ในผู้ที่มีความจำเป็นต้องรับประทานยาคุมกำเนิด ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
- ถ้าอาการปวดศีรษะรุนแรงมากขึ้น หรือมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป ควรปรึกษาแพทย์ทันที บางครั้งอาจมาจากเนื้องอกในสมองซึ่งมักจะมีอาเจียนพุ่งร่วมด้วยในรายที่เนื้องอกก่อให้เกิดความดันในสมองสูงขึ้น แพทย์จะได้ช่วยรักษาได้ทันท่วงที
ในหลายกรณีการใช้แพทย์องค์รวมและการแพทย์ทางเลือกด้วยการฝังเข็ม เลเซอร์บำบัด ควันตั้มบำบัด ไจนถึงHomoeopathy ก็ให้คำตอบที่ชงัดได้โดยไม่มีผลข้างเคียงได้คะ
“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”
สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่
ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com
#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips