อาการบวมน้ำ หรือ ภาวะบวมน้ำ (Edema)เป็นภาวะที่มีน้ำหรือน้ำเหลืองสะสมคั่งค้างอยู่ภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกายในปริมาณมากจนทำให้เกิดอาการบวมและสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนเมื่อเกิดขึ้นบริเวณที่ห้อยตำ่สุดในร่างกายเช่น มือ แขน ขา ข้อเท้า และเท้า นอกจากอาการบวมน้ำแล้วอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย อาการที่พบได้บ่อย มีดังนี้
• ผิวหนังตึงและมีความมันวาว
• ผิวหนังเป็นรอยบุ๋มหากถูกกดหรือจิ้มค้างไว้ประมาณ 5 วินาที
• ช่วงท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น
• เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบวมและโป่ง โดยเฉพาะบริเวณขาและแขน
• เคลื่อนไหวข้อเท้าหรือข้อมือได้อย่างจำกัด
• กรณีที่ปอดบวมน้ำ อาจทำให้เกิดอาการไอหรือมีปัญหาในการหายใจ
ทั้งนี้ควรไปพบแพทย์หากมีอาการบวมและรู้สึกปวดต่อเนื่องจากการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากพบสัญญาณชีพผิดปกติเข่นของอาการปอดบวมน้ำ เช่น หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก หายใจเร็วถี่มากกว่า20ครั้งต่อนาที หรือเจ็บหน้าอก เป็นต้น
สาเหตุของอาการบวมน้ำ
- ทานเกลือโซเดียมมากเกินไป
โซเดียมเป็นเครื่องปรุงที่อยู่ในอาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง และอาหารแทบทุกชนิดที่มีส่วนผสมของผงชูรส เมื่อเรารับประทานเข้าไปมาก ๆ เราจะรู้สึกหิวน้ำ จนต้องดื่มน้ำเข้าไปมาก ๆ ซึ่งทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำเอาไว้ในปริมาณที่มากเกินไปและกว่าไตจะขับออกมาก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ - นั่ง ยืน หรือนอนมากเกินไป
ร่างกายเมื่อไม่มีการขยับเคลื่อนไหวมีส่วนทำให้เกิดภาวะคั่งของน้ำในเซลล์ร่างกาย โดยเฉพาะใครที่ยืนนาน ๆ จะเห็นได้ว่าเท้าบวม หรือคนที่นั่งเป็นเวลานานโดยไม่ได้ลุกไปไหน ทั้งเท้าและขาก็อาจมีอาการบวมน้ำได้เช่นกัน - ดื่มน้ำน้อย
หากมีความคิดที่ว่าการดื่มน้ำน้อย ๆ จะช่วยลดอาการบวมน้ำให้เราได้ ซึ่งเราควรเปลี่ยนความคิดใหม่เพราะยิ่งร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปริมาณโซเดียมจากอาหารที่กินเข้าไปก็จะยิ่งไม่ถูกขับออกมา ส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำได้ง่ายและเกิดอันตรายต่อไตได้ - การอดนอน
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่จะช่วยสนับสนุนให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายเป็นปกติดี แต่เมื่อเรานอนน้อย นอนไม่พอ อดนอนติดต่อกันหลาย ๆ วัน อาจส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายเกิดการแปรปรวนได้ โดยเฉพาะคนที่นอนดึกก็กินดึก กินหนัก กินอาหารขยะเป็นส่วนใหญ่ จะเจอกับอาการบวมน้ำได้มากขึ้น - เกิดจากการใช้ยาบางชนิด
การใช้ยาบางชิดสามารถทำให้เราเกิดอาการบวมได้ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ หรือ NSAIDs ยาเอสโตรเจน ยาสเตียรอยด์ ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด เช่น ยาไทอะโซลิดีนไดโอน เป็นต้น - อาการเจ็บป่วย
• ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
• ต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ
• เส้นเลือดขอด หลอดเลือดดำที่ขาได้รับความเสียหาย หรือไม่แข็งแรง
• การติดเชื้อ
• ภาวะขาดโปรตีนอย่างรุนแรง หรือขาดโปรตีนเป็นเวลานาน
• อาการแพ้อย่างรุนแรง
• โรคไต
• โรคตับ เช่น ตับแข็ง
• ภาวะหัวใจวาย
วิธีช่วยลดอาการบวมน้ำ
- เมื่อเกิดอาการบวมน้ำแล้วเราเริ่มรู้สึกได้ ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดที่มักจะมีปริมาณโซเดียมสูง
- ควรดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ เพื่อเป็นการขับโซเดียมออกจากร่างกาย
- ในขณะที่นอนหลับนั้นก็ควรที่จะยกเท้าให้สูงขึ้นกว่าระดับหัวใจ
- การออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ ประมาณ 30-60 นาทีต่อวัน ซึ่งการว่ายน้ำเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดอาการบวมน้ำได้ เนื่องจากแรงดันน้ำที่สูงกว่า จะช่วยดันน้ำในส่วนที่ขังอยู่ในร่างกายออกมาได้
- หากจะให้ดีก็ควรเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลในการช่วยลดอาการบวมน้ำอย่างเช่น ทูน่า กล้วย อโวคาโด ผักคึ่นช่าย เป็นต้นโดยหมายถึงผู้ที่มีการทำงานของไตปกติ หากไตทำงานน้อยผิดปกติต้องงดอาหารที่มีโปตัสเชี่ยมสูงเช่นผลไม้ต่างๆกล้วย อโวกาโด
- หากอาการยังไม่ดีขึ้นหรือบวมกดบุ๋มมากควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและจะได้ดำเนินการรักษาอย่างถูกต้อง
อาการบวมน้ำนั้นไม่ควรละเลยต้องรีบหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ภาวะไตวายและต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต หรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ จึงควรหมั่นสังเกตุตนเองและตรวจร่างกายประจำปีเพราะปัจจุบันเราทานอาหารที่ล้วนอุดมด้วยสารโซเดียมในรูปแบบผงชูรสต่างๆในอาหารเกือบทุกชนิดจึงทำให้อัตราป่วยโรตไตวายพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และหนึ่งในอาการที่แสดงออกมาคืออาการบวมนำ้นั่นเอง
“สุขภาพดีเป็นสุนทรียภาพและความงามคือความสุข”
สนใจ ปรึกษาสอบถามเรื่องสุขภาพได้ที่
ADD US ON LINE
FACEBOOK PAGE
โทร (Call) +662 661 4431
อีเมล์ (E-mail) info@drorawan.com
#drorawan #sukhumvit #docter #skin #holistic #beauty #สุขภาพ #ความงาม #tips