fbpx

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

มิถุนายน 3, 2019
ออฟฟิศซินโดรม

ใครที่เคยเป็น office syndrome / Mobile Syndrome คงพอนึกออกว่าแค่เราจะเอื้อมมือไปข้างหลัง ก็อาจจะมีอาการเจ็บไปทั้งแขน หรือบางทีก็ปวดที่คอหรือตาเป็นเวลานาน รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ลองไปนวดแล้วก็ไม่ดีขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการปวดที่ไหล่ คอ ตา และปวดหัว นี่อาจจะเป็นสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม หากไม่รักษาอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

เรามาทำความรู้จัก เรียนรู้วิธีป้องกันและรักษากันค่ะ

Office Syndrome / Mobile Syndrome คืออะไร?

Office Syndrome / Mobile Syndrome เป็นโรคยอดฮิตของคนทำงานในออฟฟิต เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำงานด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรค และอาการผิดปกติในร่างกาย โดยอาการจะเกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

ออฟฟิศ/โมไหลซินะโดรม เกิดจากอะไร?

สาเหตุแรกและเป็นปัจจัยหลัก คือ การนั่งทำงานในท่าเดิมๆทุกวัน ไม่มีการยืดเส้นยืดสาย หรือปรับเปลี่ยนอิริยาบทระหว่างทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อมีการใช้งานหนัก ตึงเครียด และไม่มีการผ่อนคลาย ยืดหยุ่น

การจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน เป็นกิจกรรมที่ต้องเพ่งและใช้สมาธิ แสงหรือรังสีจากจอภาพอาจจะทำให้เราปวดหัว เป็นไมเกรน หรือปวดตาได้ค่ะ

สถานที่ทำงานก็เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุได้เช่นกัน เพราะถ้าออฟฟิศเราอากาศไม่ถ่ายเท อยู่กันแบบแออัด เก้าอี้ไม่เข้ากับโต๊ะ ทำให้ต้องนั่งผิดวิธี หรือไม่มีการทำความสะอาดจนฝุ่นเกาะไปทั่ว เพื่อลดความเสี่ยงเราต้องกำจัดปัจจัยเหล่านี้ค่ะ

ท้ายสุด ถ้าเราโหมทำงานหนัก จนไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลาดูแลเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย หรืออาจจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานจนทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อความรุนแรงของโรคออฟฟิศ/โมไบลซินโดรม

อาการเบื้องต้นของออฟฟิศซินโดรม

อาการเบื้องต้นที่เราสังเกตได้เองง่ายๆ มีดังนี้ค่ะ

  • นอนไม่ค่อยหรือหลับไม่สนิท เมื่อเราโหมทำงานหนัก อาจจะเกิดความเครียด และมีอาการปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดหัวตามมาได้ จนทำให้มีผลกระทบต่อการนอนหลับค่ะ
  • มีอาการเหน็บชา รู้สึกเหมือนแขนขาหมดแรง สาเหตุอาจจะเกิดจากการนั่งทำงานนานเกินไป จนทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่คล่องตัว ทำให้ร่างกายบางส่วนได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอค่ะ
  • อวัยวะต่างๆมีอาการตึงหรือเจ็บ ข้อนี้เกิดจากมีการอักเสบเรื้อรังมาเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ในบางรายอาจจะมีเอ็นอักเสบทับเส้นประสาทร่วมด้วย จนทำให้มีอาการชาตามมือและแขน เป็นต้น
  • มีอาการปวดเมื่อยมากขึ้น ถ้าเรานั่งทำงานนานๆ บวกกับความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ อาการปวดตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะ หลัง ไหล่ ต้นคอ แขน ข้อมือ และนิ้วมือ ก็จะตามมาค่ะ หากปล่อยไว้ ไม่แก้ไข ก็อาจจะทำให้อาการเรื้อรังมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นอาการปวดหัว ไมเกรน มึนงง ความจำเสื่อม และปวดตา คนที่ต้องใช้สายตาจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ถ้าไม่รู้จักบริหารความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้เรามีอาการปวดหัว มึนงง ไมเกรน และปวดตาได้ค่ะ

ออฟฟิศ/โมไบลซินโดรม ควรรักษาและป้องกันอย่างไร?

ถ้าหากเราเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยตามตัว ไม่มีแรง มือเท้าชา นิ้วล็อค หรือมีอาการปวดหัวคล้ายๆจะเป็นไมเกรน เราควรให้เวลาพักผ่อนทั้งร่างกายจิตใจและสมอง ถ้าอยู่ในออฟฟิศ หมอแนะนำให้เดินออกไปสูดอากาศด้านนอกทุกๆ 1 ชั่วโมง ไม่ควรนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานค่ะ

ไม่ควรละเลยเรื่องการออกกำลังกายหรือกายบริหารและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายควรทำอะไรที่ทำง่ายและทำได้ทันที เช่น ยืดเหยียด ปั่นจักรยาน เล่นโยคะ พิลาติส ว่ายน้ำ วิ่ง และควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอค่ะ

สภาพแวดล้อมในออฟฟิศก็ต้องมีการปรับ เช่น เก้าอี้นั่งให้เหมาะกับสรีระ ถ้าอากาศเย็นเกินไปหรือมีฝุ่นมากเกินไปเราก็ต้องเฝแก้ปัญหาในจุดนี้ก่อนด้วยค่ะ

หากอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และไม่สามารถปรับปรุงสภาพที่ทำงานหรือทัศนคติต่อผู้ร่วมงานเราอาจจะต้องมองหางานใหม่ หรือคุยกับบริษัทเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนค่ะ

การรักษาด้วยยา แพทย์อาจจะจ่ายยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายความเครียด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง


ในกรณีที่มีอาการป่วยแบบเรื้องรัง หรือมีอาการรุนแรง หมอแนะนำให้ศาสตร์ฟื้นฟู หรือทำกายภาพบำบัด หรือฝึกพีลาทีส การฝังเข็ม การทำกายภาพบำบัด ด้วยเลเซอร์เย็น คลื่นวิทยุหรือคลื่นเสียงค่ะ

สนใจปรึกษาเพื่อทำการรักษาโรคออฟฟิศ/โมไบลซินโดรมสามารถติดต่อมาที่ สถาบันสุขภาพผิวหนังและการแพทย์ชะลอวัยแบบองค์รวมดร.อรวรรณได้ที่รายละเอียดด้านล่างค่ะ
สาขากรุงเทพ: สุขุมวิท 02-6614431
สาขาภูเก็ต: 076-377679
หรือแวะสอบถามด้วยตนเองกับทีมงานของเราได้ที่ สถานี BTS ชิดลม ทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30–18:30 ค่ะ

บทความนี้หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์ กด Share ให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะค่ะ

Add a comment

*Please complete all fields correctly

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

Posted by Dr. Orawan | ธันวาคม 20, 2022
ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดคือช่วงที่ความมั่นใจในตัวเองพุ่งถึงขีดสูงสุด
ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดคือช่ว...
Posted by Dr. Orawan | ธันวาคม 20, 2022
โทษของการนั่งนานๆ
โทษของการนั่งนานๆ 💥นศ....
Posted by Dr. Orawan | ธันวาคม 20, 2022
พลังจิตรักษามะเร็งได้ไหม
พลังจิตรักษามะเร็งได้ไหม “ฝรั่...