fbpx

หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum) คืออะไรและรักษาอย่างไร?

หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum) คืออะไรและรักษาอย่างไร?

มิถุนายน 8, 2019
โรคหูดข้าวสุก

หูดข้าวสุก (Muolluscum Contagiosum) อาจจะเป็นโรคที่หลายคนยังไม่ค่อยรู้จัก แต่พอเป็นแล้วหายยากเหมือนกันนะค่ะ

โดยอาการจะพบว่าบนผิวมีเม็ดสีเนื้ออมชมพูหรือขาวนูนขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงแรกๆ แต่เผลอแป๊บเดียวอาจจะขยายใหญ่สังเกตุดูจะมีจุดบุ๋มตรงกลางและเมื่อบีบดูจะมีสารสีขาวคล้ายข้าวสุกออกมา คนส่วนใหญ่จะไม่สบายใจ กลัวติดเชื้อเรื้อรัง ลามไปย้งคนอื่น และพยายามหาวิธีรักษาให้หาย

มารู้จักสาเหตุ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาที่ถูกต้องกันคะ

หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum) คืออะไร?

โรคหูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum) คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Molluscum Contagiosum Virus หรือ MCV “เอ็มซีวี” เจ้าไวรัสชนิดนี้แหละค่ะที่เป็นต้นเหตุหลักของโรคหูดข้าวสุก มักเป็นในเด็กและติดต่อกันได้

แต่ก็เป็นได้ทุกเพศทุกวัย ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลต่ออวัยวะภายใน แต่เชื้อไวรัสก็สามารถติดเข้าไปในส่วนของผิวหนังที่แตก ลอก หรือตรงที่เป็นแผล จนเกิดเป็นโรคหูดข้าวสุกได้ค่ะ

แรกๆจะเป็นตุ่มแดงๆไม่เจ็บ บางรายอาจมีอาการคันได้บ้าง ระยะเวลาในการเป็นอาจจะต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนก็เป็นแค่ไม่กี่เดือนก็หาย แต่บางคนก็เป็นนานและลุกลามเป็นเวลาหลายปี จนทำให้ดูน่ากลัวและเสียความมั่นใจได้ค่ะ

ที่สำคัญคือ หูดข้าวสุกนั้นติดต่อไปยังคนอื่นได้ และสามารถกระจายบนผิวของคนที่เป็นได้จากการแกะหรือเกาด้วยคะ เราไม่จำเป็นว่าจะต้องไปแตะคนที่เป็นถึงจะติดเชื้อ แต่ถ้าเราไปใช้ของร่วมกันก็ติดได้ เช่น ใช้ผ้าขนหนู หรือใส่เสื้อผ้าร่วมกัน เป็นต้น

เชื้อไวรัส M. Contagiosum นั้นจะมีชีวิตอยู่ภายนอกได้ค่อนข้างนานค่ะ ดังนั้น ถ้าเราเผลอไปจับ แตะ หรือใช้ผ้าขนหนู ของเล่น เสื้อผ้า และอุปกรณ์อื่นๆที่มีเชื้ออยู่ เราก็อาจจะติดเชื้อมาได้
คนที่เล่นฟิตเนสและออกกำลังกายเป็นประจำก็ต้องระวังไว้เหมือนกันค่ะ เพราะไม่ว่าจะเป็นเสื่อโยคะ ดัมเบล ถุงมือ หรือแม้แต่บาร์เบล ก็อาจจะมีเชื้อไวรัสที่คนที่เป็นทิ้งไว้ได้ เมื่อเราไปสัมผัสถูกก็จะติดต่อมาเป็นโรคได้

หูดข้าวสุก กับความเสี่ยงที่ทุกคนต้องรู้

ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส M. Contagiosum ได้เท่ากัน แต่ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้น ถ้าเราอยู่ในกลุ่มเหล่านี้

  • เด็กอายุระหว่าง 1 ถึง 10 ปี
  • คนที่อยู่ในเมืองร้อนชื้น (เช่นเมืองไทย)
  • คนที่มีระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ต่ำ ซึ่งอาจจะเกิดจากโรคมะเร็ง หรือมีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เป็นต้น
  • คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ที่ผิวจะคัน มีสะเก็ด และมีผื่นขึ้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส
  • คนที่เล่นกีฬาที่สัมผัสกับผู้เล่นคนอื่น เช่น นักมวย นักฟุตบอล เล่นเวท เทรนนิ่ง และมวยปล้ำ เป็นต้น

หูดข้าวสุก มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?

การบีบหรือรักษาด้วยตนเองที่บ้านจะต้องระวังเรื่องการแพร่เชื้อจึงไม่แนะนำ หมอแนะนำให้เข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังและรับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง อีกทั้งไม่แพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น

ซึ่งคุณหมอจะมีวิธีรักษาที่แตกต่างและเหมาะสมกับบริเวณและจำนวนที่เป็น ด้วยสเตอร์ไรด์เทคนิกช่วยให้เราหายโดยไม่แพร่เชื้อสู่ตนเองและผู้อื่น คุณหมออาจจี้หูด หรือใช้เครื่องมือบีบหูดแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อหรืออาจจี้ด้วยเลเซอร์หรือไฟฟ้าหรือให้ยาไปทาแล้วแต่กรณี

พร้อมๆกันก็จะแนะนำการดูแลตนเองและครอบครัวไม่ให้แพร่เชื้อและเพิ่มภูมิต้านทานเพื่อให้หายได้เร็วขึ้น ลดความเสี่ยงและการติดต่อ บางครั้งเมื่อมีภูมิดีหูดข้าวสุกก็อาจจะหายไปได้เอง บางรายอาจแนะนำให้เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกัน ด้วยการให้วิตามินและสารอาหารเข้าเส้น ( IV Drip) เพราะถ้าระบบภูมิคุ้มกันต่ำ การแพร่กระจายก็เกิดได้ง่ายและการรักษาจะยาก

ในเคสที่คนไข้มีหูดขนาดใหญ่ และจำนวนมากหมออาจต้องนัดมาหลายครั้งจนกว่าจะหมด หมอเคยมีคนไข้เด็กจากต่างประเทศเป็นมากมายทั่วตัวนับหมื่นจุดและเข้าไปในเยื่อบุตาและอวัยวะเพศด้วย ถึงกับต้องดมยาสลบและทำให้หมดในคราวเดียวเพราะต้องกลับต่างประเทศในเวลาอีกไม่นาน

ข้อสำคัญจึงอยู่ที่การรักษาความสะอาดและเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องตนเองจากการติดเชื้อไวรัสต่างๆที่ยังไม่มียารักษาให้หายได้
แม้หูดจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่การติดเชื้อไวรัสปัจจุบันพบว่าสามารถทำให้เชื้อเข้าไปในรหัสพันธุกรรมและเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันและรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆคะ

ทิปส์ดีๆที่อยากฝากไว้

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหูดข้าวสุก คือ พยายามอย่าไปสัมผัสสิ่งของที่อาจจะมีเชื้อไวรัสอยู่ หรือบุคคลที่มีเชื้ออยู่ และทำตามคำแนะนำดังนี้คะ

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆจนเป็นนิสัย
  • รวมทั้งคอยเตือนเด็กๆในความดูแลให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังทำกิจกรรมใดๆ
  • ไม่ใช้ของร่วมกับคนอื่น โดยเฉพาะผ้าเช็ดตัว แปรงหวีผม เสื้อผ้า และสบู่ เป็นต้น
  • ไม่ใช้อุปกรณ์กีฬาหรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่อาจจะมีเชื้อไวรัสอยู่
  • ถ้ามีตุ่มหรือผื่นขึ้นตรงบริเวณผิวที่สงสัยไม่ควรเอามือไปสัมผัสและแตะผิวบริเวณนั้น
  • ถ้ารู้ตัวว่าเป็นโรคหูด หรือมีผื่นคัน ที่ผิว ควรใส่เสื้อและปิดเทปไว้เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อต่อตนเองและผู้อื่น
  • ไม่ควรโกนขนบริเวณที่มีอาการคัน มีผื่น ผิวอักเสบ หรือเป็นหูด
  • ถ้ามีหูดขึ้นบริเวณใกล้เคียง รอบๆ หรือที่อวัยวะเพศ ควรงดการมีเพศสัมพันธุ์จนกว่าจะหายขาดหรือใส่ถุงยางอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ (แต่ยังมีความเสี่ยงที่ถุงอาจหลุดหรือมีรอยรั่ว)

เชิญรับคำปรึกษาโรคหูดข้าวสุกและโรคผิวหนังอื่นๆกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ สถาบันสุขภาพผิวหนังและการแพทย์ชะลอวัยแบบองค์รวมดร.อรวรรณที่:
สาขากรุงเทพ: สุขุมวิท 02-6614431
สาขาภูเก็ต: 076-377679
แวะสอบถามด้วยตนเองกับทีมงานของเราได้ที่ สถานี BTS ชิดลม ทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30–18:30 ค่ะ
บทความนี้หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์ กด Share ให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะค่ะ

Add a comment

*Please complete all fields correctly

Related Blogs/บทความที่น่าสนใจ

Posted by Dr. Orawan | ธันวาคม 20, 2022
ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดคือช่วงที่ความมั่นใจในตัวเองพุ่งถึงขีดสูงสุด
ช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดคือช่ว...
Posted by Dr. Orawan | ธันวาคม 20, 2022
โทษของการนั่งนานๆ
โทษของการนั่งนานๆ 💥นศ....
Posted by Dr. Orawan | ธันวาคม 20, 2022
พลังจิตรักษามะเร็งได้ไหม
พลังจิตรักษามะเร็งได้ไหม “ฝรั่...