ไม่ใช่เรื่องที่ผู้อื่นจะทำแทนได้ หรือเรื่องง่ายที่จะหาซื้อด้วยเงินทอง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (Lifestyle modification) เพื่อสร้างสุขภาพดีประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ
อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ซึ่งสอดคล้องกับ Meta-analysis ของ Yamaoka และคณะ1 ที่พบว่า
ผู้ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานน้อยกว่าถึงร้อยละ 46 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
โดยเรื่องโภชนาการเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพอย่างยิ่ง เพราะคนเราต้องรับประทานอาหารทุกวัน
ดังนั้น ถ้าเราเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย อาหารเหล่านี้เปรียบเสมือนยาที่ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
แต่ในชีวิตจริง แม้ผู้คนส่วนใหญ่จะทราบว่าอาหารคนไทยส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารตามความชอบ รสชาติ และความอยากรับประทาน มากกว่าคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ
คนไทยมีแนวโน้มรับประทานอาหารรสหวานและรสเค็มมากขึ้น ในขณะที่รับประทานผัก ผลไม้ลดลง จึงไม่น่าแปลกใจที่พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้คนไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs Non-Communicable Diseases) เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
คงยังไม่สายที่เราทุกคนควรเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพโดยเริ่มต้นด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน
ซึ่งคำว่า “ครบถ้วน” นั้น หมายถึง ครบถ้วนทั้งปริมาณและสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย
โดยทั่วไป ถ้าในทุกวัน ทุกมื้อ เราสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่จะได้รับสารอาหารและโภชนาการ
ควรจะต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการใช้อาหารทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล
การสร้างสุขภาพดีเป็นเรื่องไม่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแค่เราเริ่มลงมือทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
สุขภาพดีที่หวังไว้คงไม่ใช่แค่ความฝันอีกต่อไป เราสามารถเป็นผู้กำหนดสุขภาพของตนเองได้ ขอเพียงเริ่มต้นทุกวันด้วยโภชนาการที่ครบถ้วน ถือเป็นก้าวแรกที่จะพาทุกคนไปสู่ “สุขภาพดี”